สวัสดีสหายทุกท่านวันนี้ผม”ขุนอภัยภักดี”กลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมหรือเหมือนทุกๆครั้งที่มีการตั้งกระทู้มาวันนี้เป็นกระทู้ที่
66 แล้วสำหรับบางคนอาจจะว่าเยอะแต่สำหรับผม
ผมว่ามันยังน้อยไปเมื่อเทียบกับอายุอานามที่ปาเข้าไปประมาณนี้ซึ่งนั้นก็หมายความว่าผมได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวัดวาอารามปีละหนึ่งวัดกว่าเมื่อเอามันมาเฉลี่ยกับอายุท่านลองคิดดู
วัดอยู่คู่กับคนไทยเรามาเป็นร้อยๆปีจนศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไปแล้วหลายๆประเทศในโลกอาจจะยกให้ประเทศไทยเป็นชาติต้นๆเมื่อกล่าวถึงศาสนาพุทธ
แต่คนไทยเราเคยสนใจหรือเข้าถึงวัดถึงวาเข้าถึงพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแค่ไหน
พระหลายๆรูปเคยบอกว่าประตูวัดไม่เคยปิดเข้าวัดไม่เคยเสียเงินแต่คนไทยน้อยคนที่จะมาวัด
ท่านเคยสังเกตหรือไม่ว่าแค่เราเดินผ่านประตูวัดเข้ามาทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนไปแบบหน้ามือกับหลังมือเพียงแค่เราผ่านประตูเข้ามาในบริเวณวัดทุกสิ่งทุกอย่างที่วุ่นวายอยู่ด้านหลังไม่ว่ารถหรือคน
เมื่อผ่านประตูวัดเข้ามาทุกอย่างดูสงบลงไม่มีรถราหรือผู้คนที่วุ่นวายอยู่กับการดิ้นรนเพื่อปากท้อง(พูดมาเสียยาวเลยบ่นเป็นคนแก่เลย....)
วัดไตรรัตนาราม(สามขา) เป็นวัดเล็กๆที่อยู่ภายในซอยรามอินทรา 8 วัดนี้เป็นวัดธรรมดามากๆเป็นวัดเก่าแก่ที่มีคู่ชุมชนนี้มานานหลายชั่วอายุคน ด้วยชื่อวัดสามขานี้ทำให้ผมและท่านผู้อ่านบางคนสงสัยมานานกับคำว่า”สามขา” เรื่องนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังครับ
จากคำบอกเล่าของพระนฤนาท ศรีเพ็ญ(สิริภาโส) หรือพระเก่ง
ว่าเดิมทีวัดนี้เท่าที่พอทราบประวัติจากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านว่าเดิมทีเดียว
วัดสามขาไม่ทราบประวัติผู้สร้างที่แน่นอนชัดเชนเป็นวัดเล็กๆประจำชุมชนไม่ได้มีเสนาสนะมากมายมีเพียงตัวอุโบสถหลังเดิมก็เป็นเพียงอาคารไม้หลังคามุงสังกะสีซึ่งก็ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา
ภายในประดิษฐานองค์หลวงพ่อยิ้มพระประธานประจำวัดเท่านั้น
เรามาทราบประวัติของวัดเท่าที่พบจะสืบค้นได้
วัดไตรรัตนาราม (สามขา) ตั้งอยู่ เลขที่ 3 หมู่ 2
แขวอนุสาวรีย์ เขตบางเขนกรุงเทพมหานคร
10220
การเดินทางมาวัดใช้ถนนรามอินทราเข้ามาในซอยรามอินทรา 8 เกือบสุดซอย
เดิมชื่อว่าวัดสามขา เป็นชื่อที่ชาวบ้านในสมัยก่อนเรียกขานเพราะมีคลองแม่น้ำมารวมกันที่หน้าวัดถึงสามสายชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดตามลักษณะภูมิประเทศเหมือนวัดทั่วๆไป วัดสามขาสร้างมาตั้งแต่สมัยพ.ศ.2435 และได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2514
ตามหนังสือรับรองสภาพวัดจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการที่ ศธ.0303 /11894
ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2544
ปัจจุบันมีชื่อเป็นทางการว่า วัดไตรรัตนาราม
ในสมัยโบราณการเดินทางสัญจรของชาวบ้านอาศัยทางน้ำโดยอาศัยเรือเป็นพาหนะหลักในการสัญจรไปไหนมาไหนและ
ณ.ที่นี้มีลำคลองไหลมารวมกันถึงสามสายที่นี่จึงมีการตั้งรกรากและสร้างวัดสามขาขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านในย่านนี้
และมีการพัฒนามาเรื่อยๆ
ยังคงทิ้งร่องรอยอดีตให้เห็นคือยังศาลาท่าน้ำที่อยู่ด้านหลังวัดที่ทิ้งร้างไม่ได้ใช้งานอยู่หลังหนึ่ง
หลังจากที่มีการตัดถนนเข้ามาที่วัด
พระประธานหลวงพ่อยิ้ม
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์วัดไตรรัตนารามหลวงพ่อยิ้ม
พระหลวงพ่อยิ้มพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นพระประธานอยู่ภายในวัด
ซึ่งน่าจะสร้างมาพระพร้อมๆกับวัดจึงมีอายุนับร้อยปีแล้ว
หลวงพ่อยิ้มเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยพุทธลักษณะที่สวยงามและเมตตาเพราะหากเรามองที่พระพักตร์จะเห็นว่าหลวงพ่อกำลังยิ้มให้เราอยู่ทำให้ผู้ที่ไปกราบไหว้หลวงพ่อรู้สึกได้ถึงความเมตตาและรู้สึกสงบและสบายใจในการมากราบสักการะหลวงพ่อยิ้ม
นอกจากพุทธลักษณะที่มีความเมตตาแล้วชาวบ้านบางคนยังมาบนบานขอสิ่งที่ตนเองกับหลวงพ่อยิ้มและได้ดังหวัง
หลวงพ่อยิ้มจึงเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านละแวกวัดให้ความนับถือเป็นอย่างมาก
อุโบสถวัดไตรรัตนาราม
อุโบสถหลังที่เห็นในปัจจุบันก็ได้รับการสร้างขึ้นมาใหม่แทนหลังเก่าที่เป็นอาคารไม้มุงสังกะสีที่ชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา
เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคาสองชั้นมุงด้วยกระเบื้องดินเผาโดยหลวงพ่อเจ้าอาวาสในอดีตทราบชื่อเพียงว่า ”หลวงตาอเนก”
ซึ่งหลังจากที่หลวงตาอเนกทำการรวบรวมชาวบ้านสร้างบูรณะอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ทรุดโทรมจนแล้วเสร็จ
หลังจากนั้นหลวงตาก็ได้ลาสิกขาบทออกไปครองเพศฆราวาสอยู่กับครอบครัวถึง 20
ปีตามความเชื่อของคนสมัยโบราณว่าเป็นการสร้างบุญใหญ่แล้วจะเป็นอันตรายแก่ตัวและกลับมาบวชอีกครั้งในบั้นของปลายชีวิตได้
4-5 พรรษา แล้วจึงมรณภาพที่วัดไตรแห่งนี้
วิหารหลวงพ่อสุขโขนอกจากอุโบสถแล้ววัดไตรรัตนารามยังมีวิหารหลวงพ่อสุขโขที่เป็นพระพุทธรูปจำลององค์หลวงพ่อยิ้ม
พระประธานในอุโบสถโดยนายบำรุง
พุทพงษ์ และตระกูลพุทพงษ์ ได้ร่วมกันบริจาคเงินในการหล่อหลวงพ่อสุขโขและในการสร้างวิหารเมื่อ พ.ศ.2530 เป็นเงิน 472,027 บาท และมอบให้ พระฟื้น จักวาโฬ
เป็นผู้ดำเนินการต่อในการสร้างวิหารและหล่อหลวงพ่อสุขโข
พระฟื้นและชาวบ้านจึงได้ร่วมกันจัดสร้างจนแล้วเสร็จโดยใช้เงินรวมทั้งสิ้น 727,827 บาท เมื่อความเจริญเข้ามาถึงบ้านเมืองได้พัฒนาขึ้นมา ตามยุคสมัย
ปัจจุบันนี้มีพระครูรัตนาภิรักษ์เป็นเจ้าอาวาส
มีชุมชนที่อยู่ในย่านวัดไตรฯ มากมาย
วัดจึงมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาตามลำดับ
สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณสมาชิกทุกท่านที่ติดตามกระทู้ตลอดมา
เพราะหากว่าเราๆท่านๆไม่ช่วยกันเป็นเรียวแรงให้กับพระพุทธศาสนา
"ธรรมะของพระพุทธเจ้าก็จะเป็นหมัน" คำนี้ท่านพุทธทาศท่านใช้บ่อยมาก
สุดท้ายนี้ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ได้มาร่วมกันสร้างบุญกุศลในชาตินี้
ขอผลบุญทั้งหลายจงคุ้มครองให้ท่านละครอบครัวจงประสบแด่ความสุขความสำราญทั้งกายและใจตลอดกาลนาน
ขอให้พระธรรมขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงคุ้มครองทุกท่าน”ให้มีสติอยู่เสมอและมองเห็นโลกเป็นของว่าง
รู้เท่าทันเหตุแห่งทุกข์และรู้หนทางแห่งการดับทุกข์และลงปฏิบัติเพื่อเสวยผลแห่งการปฏิบัตินั้น”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น