วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริปที่ #๔๖( วัดเขาคันธมาทน์ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี )

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริปที่ #๔๖( วัดเขาคันธมาทน์ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี )


สวัสดีสหายเอ๋ยวันนี้เป็นวันที่ดีอีกวันผมขุนอภัยภักดีได้เดินทางไหว้พระทำบุญถวายสังฆทานตามประเพณีอันดีงามที่บรรพชนเขาเราได้ทำสืบมาและไม่รู้ว่ามันจะอยู่ได้นานอีกเท่าไร แต่ถึงกระนั้นก็ขอมาทำหน้าที่ในการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวัดวาอารามของไทยเรา วัดก็คือวัดไม่ว่าจะเป็นวัดใหญ่หรือวัดเล็กไม่ว่าวัดหลวงหรือวัดราษฎร ถ้าได้ชื่อว่าวัดย่อมเป็นที่สงบสุขสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกท่าน เรามาทราบรายละเอียดเกี่ยวกับวัดนี้ก่อนนิดหน่อย วัดเขาคันธมาทน์

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป #๔๕ (นมัสการหลวงพ่อเก้า วัดค้างคาว จ.นนทบุรี)

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป #๔๕ (นมัสการหลวงพ่อเก้า วัดค้างคาว จ.นนทบุรี)
สวัสดีครับสมาชิกทุกท่านวันนี้กระผมขุนอภัยภักดีกลับมาทำหน้าที่อีกครั้งหนึ่งวันนี้มีโอกาสดีเลยให้เวลากับตัวเองประมาณหนึ่งชั่วโมงซึ่งดูจากเวลาและพิกัดแล้วคงไปไหนได้ไม่ไกลมากและบวกกับความอยากที่จะย้อนกลับไปเมืองนนทบุรีอีกครั้งและจะพาไปวัดค้างคาวชมวัดเก่าแก่และไหว้พระหลวงพ่อเก้าเมื่อประมาณเกือบสองอาทิตย์มาแล้ววันนี้เลยให้เวลากับตัวเองซะหน่อยขอแว๊บไปวัดหาพระสงบจิตสงบใจเชิญชมบรรยากาศครับ


วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป #๔๓(เที่ยวเมืองนนท์ชมโบสถ์ท้องสำเภาวัดปราสาท )





สวัสดีสหายเอ๋ย ทริป"เที่ยววัดเมืองนนท์" ตามลำดับครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๔ และจะขอพาสามชิกไปชมโบสถ์ท้องสำเภา(โบสถ์มหาอุด)ศิลปะอยุธยาที่หาชมได้ใกล้ๆกรุงเทพ โดยไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงอยุธยาครับและวัดที่พูดถึงคือ "วัดปราสาท " เรามาลองทราบประวิติของวัดกันเคร่าๆ เพื่อจะได้ชมความงามด้านศิลปะและพุทธศิลป์ วัดปราสาท สมัยอยุธยาตอนปลาย สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
หน้าบันพระอุโบสถเป็นไม้สักสลักรูปนารายณ์ทรงครุฑ (ปัจจุบันตัวครุฑถูกขโมยไปแล้ว) คล้ายกับที่วัดโพธิ์บางโอ เครื่องบนเป็นไม้สักประดับด้วยรวยมอญ (ตัวไม้แกะสลักที่ทอดตัวลงมาบนหัวแปตอนหน้าจั่ว เป็นศิลปะมอญ) ตรงหุ่นนก (สามเหลี่ยม ข้างรวยมอญ) เป็นรูปราชสีห์และคชสีห์ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นโบสถ์แบบมหาอุดไม่มีการเจาะฝาผนังเลย ฐานพระอุโบสถเป็นแบบตกท้องช้างหรือท้องสำเภา (การสร้างโบสถ์แบบตกท้องช้างนั้น  สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางสถาปัตยกรรม คือเมื่ออากาศร้อน ความร้อนจะลอยตัวขึ้นสูงอากาศเย็นจะพัดเข้าแทนที่ได้สะดวก)

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป #๔๒(เที่ยวเมืองนนท์ชมอุโบสถ์วัดโพธิ์บางโอ บางกรวย นนทบุรี)




วันนี้เป็นครั้งที่สามของทริป "เที่ยววัดเมืองนนท์"จะพาไปเที่ยวชมพระอุโบสถ์ที่ทรงคุณค่าด้านศิลปะที่วัดโพธิ์บางโอเป็นวัดเก่าในสมัยอยุธยา ได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยกรมหลวงเสนีบริรักษ์ (ต้นสกุล เสนีวงศ์) พระโอรสในกรมพระราชวังหลัง พระอุโบสถ์ที่วัดนี้มีพาไลโดยรอบเหมือนที่วัดพระแก้ว ตามที่ได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่กระทู้แรกว่านนทบุรีเป็นเมืองเก่าที่มีประวัติยาวนาน และเป็นเส้นทางผ่านไปมาแต่โบราณท่านสุนทรภู่เองยังเคยผ่านทางนี้ซึ่งจะดูได้จากนิราศพระประธมสภาพวัดโดยทั่วไปเหมือนกับวัดทั่วไปที่ไม่มีการบริหารการจัดการทางตลาดในที่นี้หมายถึงเงียบมากๆไม่มีผู้คนพลุกพล่านทั้งที่มีจุดขายน่าเสียดายสมบัติของชาติครับที่ต้องปล่อยให้ผุพังไปตามกาลเวลา  และยิ่งได้รับความเสียหายอย่างมากแน่นอนหลังน้ำท่วมใหญ่ปี พ.ศ. 2554 สภาพโดยรอบยังมีร่องรอยความเสียหายจากน้ำท่วมซึ่งสภาพภายนอกยังได้รับความเสียหายมาก ด้านในคิดว่าคงหนักกว่านี้น่าเสียดายที่วันที่ผมไปไม่สามารถเข้าไปชมความสวยงามภายในและองค์พระประธานได้เนื่องจากทางวัดไม่เปิดประตูให้ชมเลยไม่สามารถเก็บภาพมาฝากได้ แต่ถ้าจะให้คิดคงเสียหายมากจากความชื่น เหมือนวัดทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป #๔๔(เที่ยวเมืองนนท์เยือยบ้านไกรทองที่วัดบางไกรใน )

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป #๔๔(เที่ยวเมืองนนท์เยือยบ้านไกรทองที่วัดบางไกรใน )



บางนายไกรไกรทองอยู่คลองนี้       ชื่อจึงมีมาทุกวันเหมือนมั่นหมาย
ไปเข่นฆ่าชาละวันให้พลันตาย         เป็นยอดชายเชี่ยวชาญการวิชา
ได้ครอบครองสองสาวชาวพิจิตร     สมสนิทนางตะเข้เสน่หา
เหมือนตัวพี่นี้ได้ครองแต่น้องยา       จะเกื้อหน้าพางามขึ้นครามครัน
จากนิราศพระประธม ของท่านมหากวีสุนทรภู่บทนี้ทำให้ผมขุนอภัยภักดีต้องเดินทางมาเยือนบ้านนายไกรผู้ที่เดินทางไกลไปปราบพญาจระเข้ไกลถึงเมือพิจิตรและพิชิตใจสาวงามแห่งเมืองพิจิตรสองศรีพี่น้องครับ และนี่ก็คือ วัดที่ ๔ ของทริปเที่ยววัดเมืองนนท์ 

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป #๔๑(เที่ยวเมืองนนท์ชมจิตรกรรม-ตู้พระไตรปิฎกเก่าวัดบางขนุน)


สวัสดีสหายเอ๋ย วันนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่จะนำเสนอวัดวาอารามสิ่งงดงามแห่งเมืองนนทบุรีกับ "เที่ยววัดเมืองนนท์-กับคนบางกรวย#๒" ตามคำเชิญของพี่ต้อม_บางกรวย นักบุญพ่อลูกอ่อนของผม เมื่อครั้งที่แล้ว พาชมอุโบสถ์บนเรือหงษ์ที่วัดชะลอ  อย่างที่พอจะทราบมาว่านนทบุรีเป็นเมืองเก่าแก่เป็นร้อยปีแต่โบราณดังนั้นที่นี่จึงมีร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองเมื่อครั้งอดีตโดยดูได้จากวัดวาอารามเก่าแก่มากมายในเมืองนนทบุรีนี้ ทั้งยังมีกาพย์กลอนและนิราศต่างของกวีแต่โบราณที่ผ่านมาทางนี้และได้กล่าวร่ำพรรณาถึงความงามของคลองและวัดต่างๆ และต้องขออภัยที่นำวัดบางขนุนมานำเสนอก่อนทั้งๆที่ปิดท้ายกระทู้วัดชะลอว่าจะพาไปวัดโพธิ์บางโอ และอย่าที่บอกครับที่นี่เป็นถิ่นของพี่ต้อม บางกรวยก็คงต้องขอบคุณพี่ต้อม บางกรวย ที่อำนวยความสะดวกในที่นี้ทั้งมาเป็นไกด์และขออนุญาตท่านเจ้าอาวาสในการเข้าชมในโบราณสถานแห่งนี้ วัดบางขนุน จากบางวรรคบางตอนในนิราศพระประธม ของท่านสุนทรภู่ท่านได้กล่าวไว้ว่า
 " บางขนุนขุนกองมีคลองกว้าง                ว่าเดิมบางชื่อถนนเขาขนของ
เป็นเรื่องหลังครั้งคราวท้าวอู่ทอง                  แต่คนร้องเรียกเฟือนไม่เหมือนเดิม
สุดาใดได้เพื่อนอย่าเฟือนพี่                     เหมือนมณีนพรัตน์ฉัตรเฉลิม
อันน้ำในใจรักช่วยตักเติม                     ให้พูนเพิ่มพิศวาสอย่าคลาดคลาย

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป #๔๐ (เที่ยวเมืองนนท์..ชมพระอุโบสถบนเรือหงษ์ที่วัดชลอ )



สวัสดีสหายเอ๋ย...วันนี้ขอเริ่มกระทู้ทริปเที่ยวเมืองนนทบุรี เพราะเห็นว่าใกล้กรุงเทพนิดเดียวแต่มีความสวยงามทรงคุณค่ามากมาย เลยคิดว่าเดือนนี้ทั้งเดือนขอเข้าพื้นที่นนทบุรี พื้นที่สหายผู้พี่ พี่ต้อม-บางกรวย ตั้งชื่อเป็น"เที่ยววัดเมืองนนท์" ก็คือว่าเดือนนี้จะพาเที่ยววัดแถวๆละแวกบางกรวย นนทบุรี ซึ่ง ณ พื้นถิ่นฐานแห่งนี้มีประวัติอันยาวนาน ที่เกี่ยวของกับประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมาจนถึงราชธานีกรุงรัตนโกสินทร์ฯ คือกะว่าจะเริ่มต้นที่จะพาชมพระอุโบสถบนเรือหงษ์วัดชลอ ต่อด้วยชมพระอุโบสถที่มีชายคาพาไลเช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)วัดโพธิ์บางโอวันนี้จะเริ่มที่วัดชะลอกันก่อนครับ เรามาเรียนรู้ประวัติศาสตร์และตำนานของวัดกันครับ
วัดชะลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี จากเอกสารหลักฐานของกรมการศาสนา วัดชลอสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๐๐ ในสมัยอยุธยาตอนปลายไม่ปรากฏนามผู้สร้างแต่เดิม คงจะสร้างมากก่อนนี้อาจเป็นสมัยพระเจ้าจักรพรรดิ์ช้างเผือก แต่ยังมีสภาพที่ยังไม่เจริญมั่นคง ต่อมาได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ตามลำดับ วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ. ๒๓๑๒ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๒ เมตร ทางวัดเปิดโรงเรียนปริยัติธรรมเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๙ พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่ราบลุ่มมีคลองบางกรวย และบางกอกน้อย ผ่านทางทิศเหนือ ทิศตะวันตก ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่างๆ ดังนี้ พระอุโบสถ(หลังเก่า) กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๗ เมตร ลักษณะทรงไทย รูปเรือสำเภาโบราณ ตัวพระอุโบสถตั้งอยู่ในเรือ

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป #๓๙ วัดไก่จ้น ถิ่นกำเนิด สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)



สวัสดีกันอีกครั้งครับวันนี้ยินดีนำเสนอทริปเที่ยววัดก่อนพรุ่งนี้จะมีงานใหญ่กับ FC ธนบุรีและ บางกรวย ครับวันนี้ก็เหมือนที่จั่วหัวกระทู้ไว้ครับ เราจะไปเที่ยววัดไก่จ้น ถิ่นกำเนิด สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มาทราบประวัติวัดกันเล็กๆน้อยๆผิดพลาดประการใดต้องขออภัย วัดไก่จ้นเป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณ ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง ตั้งขึ้นเป็นวัดเมื่อปี พ.ศ. 2375 เดิมเรียกว่า "วัดบ้านไก่จ้น" มีหลักฐานประกฎอยู่ในใบพระราชทานวิสุงคามสีมา ของอุโบสถหลังเก่า ความว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่ "วัดบ้านไก่จ้น" แควนครน้อย แขวงกรุงเก่าซึ่งมี "เจ้าอธิการดิส" เป็นเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. 2431

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป #๓๘ (กราบอริยะสงฆ์ลุ่มน้ำป่าสัก หลวงพ่อย้อย วัดอัมพะวัน จ.สระบุรี)


สวัสดีครับวันนี้ขุนอภัยภักดีจะพาไปกราบพระอริยะสงฆ์แห่งลุ่มน้ำป่าสัก จากคำบอกเล่าของไกด์กิตติมศักดิ์ ว่าท่านศักดิ์สิทธิ์มากๆ ท่านมรณภาพไปนานแล้วแต่สังขารของท่านไม่เน่าเปื่อยเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง วัดนี้เงียบสงบมากๆ หากเราเข้าวัดไปโดยผ่านซุ้มประตูวัดก็จะพบกับอุโบสถหลังใหม่อยู่ทางด้านซ้าย และที่มองเห็นตรงหน้าเป็นวิหารเล็กๆ ที่นั้นแหละครับคือที่หมายของเราเพราะภานในจะมีร่างของหลวงพ่ออยู่ภานในโลงแก้วที่ทางวัดจัดใส่ร่างของหลวงพ่อไว้ กราบหลวงพ่อเสร็จเดินไปด้านหลังจะพบกับอุโบสถหลังเก่าเป็นอาคารก่ออิฐถือปนูหลังคาเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้องดินเผาภายในมีพระประธานอยู่สามองค์  เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่งปางมารวิชัยหรือสดุ้งมารสามองค์ด้านขวาเป็นหอระฆัง ส่วนตรงกลางเป็นกุฏิท่านเจ้าอาวาสเดิมคงเป็นหอสวดมนต์ได้สนทนากับท่านเจ้าอาวาสท่านบอกว่าปกติสมัยหลวงพ่อย้อยท่านยังมีชีวิตอยู่วัดนี้ก็เงียบสงบมากเพราะหลวงพ่อท่านสั่งไว้ไม่ให้ประกาศหรือโฆษณาใดๆเกี่ยวกับท่าน ทุกคนในวัดก็เชื่อฟังท่านครับแต่มาระยะหลังๆนี้มีคนทราบข่าวกันปากต่อปากจึงมีคนมาวัดมากขึ้นโดยเฉพาะวันที่ 19 ธันวาคม ซึ่งตรงกับวันที่หลวงพ่อมรณภาพคนจะเยอะมากๆ หลวงพ่อท่านมรณะมา 29 ปีแล้ว หลวงพ่อเป็นพระที่มีวิชาอาคมเข้มขลัง ใครเดือดร้อนอะไรก็ไปจุดธูปบอกท่านแล้วอธิษฐานว่ากันว่าส่วนมากจะได้ดังที่ขอแทบทุกคนจากประวัติที่พอจะค้นหาได้มีดังนี้
หลวงพ่อย้อย ปุญญมี ฉายา ปุญญมี ชื่อเดิม ย้อย นามสกุลชาติภูมิ เกิดวันที่ 1 กรกฎาคม 2435 ปีมะโรง ที่บ้านโรงเหล้า (บ้านอัมพวัน) หมู่ที่ 3 ตำบลศาลารีไทย อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เชื้อชาติไทยสัญชาติไทย บิดาชื่อ นายนิ่ม เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ มารดาชื่อ นางแป๋ เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธก่อนบรรพชาอุปสมบท อยู่บ้านโรงเหล้า(บ้านอัมพวัน) หมู่ที่ 3 ตำบลศาลารีไทย อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป #๓๗ (ชมพระพุทธรูปทองคำ วัดพะเยาว์ จ.สระบุรี)


สวัสดีทุกท่านวันนี้กลับมาทำหน้าที่พาเที่ยววัดเหมือนเดิมครับ ทริปนี้มีธุระด่วนต้องเดินทางไปสระบุรี และเป็นปกติของผมครับเห็นวัดเป็นไม่ได้เหมือนเด็กเห็นขนมครับ ทริปนี้ไปมา 3 วัดโดยได้ไกด์กิติมศักดิ์ส่วนจะเป็นใครเอาไว้เฉลยวัดสุดท้าย โดยทริปนี้ที่จะเอามานำเสนอตามลำดับเส้นทางครับวัดแรกจะเริ่มที่วัดพะเยาว์ จะพาชมพระพุทธรูปทองคำ วัดที่สองวัดอัมพวัน พาไปไหว้เกจิลุ่มน้ำป่าสักหลวงพ่อย้อย วัดที่สามวัดไก่จ้น พาชมถิ่นกำเนิดสมเด็จพระพุฒาจารย์_(โต_พฺรหฺมรํสี) มาเริ่มกันที่วัดแรกครับจะพาไปชมพระพุทธรูปทองคำ วัดพะเยาว์นี้ นับเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามมากองค์หนึ่ง พระวรกายสมสัดส่วน กล่าวอย่างสามัญก็คือไม่อ้วนไม่ผอม ช่วงพระอังสากว้างดูผึ่งผายงามสง่า สมกับช่วงพระเพลา (หน้าตัก) ซึ่งกว้างรับกัน ไม่แคบดูชะลูดดังพระพุทธรูปอู่ทอง พระพักตร์กลมเรียวเข้าหากันตรงช่วงล่างเล็กน้อย พระนลาฎกว้าง พระขนงโก่งมาบรรจบกันเป็นปีกกา ที่กึ่งกลางพระนลาฎ ตรงพระนาสิกพอดี พระโอษฐ์กว้างและยิ้มเผยอเล็กน้อยพองาม พระเนตรเป็นมุกอยู่ในลักษณะลืมตา คล้ายทอดพระเตรดูคนในระยะใกล้พอสมควร เสมือนเช่นผู้อุดมด้วยเมตตาจิตต่อผู้ที่เข้าไปใกล้ชิดทั่วหน้า พระนาสิกเรียวโด่งพองาม พระเศียรประกอบด้วยพระอุณหิส (ส่วนที่เป็นกระหม่อมอยู่ตรงกลางศรีษะ) เป็นลอนสูงสมส่วน เสริมต่อด้วยพระรัศมีเปลวเพลิง อย่างที่เรียกกันว่า เปลวอุณาโลมฝีมือประณีตพอสมควร (พระรัศมีที่งามยิ่งสุดยอด ก็เห็นจะได้แก่ พระรัศมีพระพุทธชินราช เมืองพิษณุโลก ฝีมือสกุลช่างสุโขทัย ชนิดที่ไม่มีในที่ใดเสมอ) เม็ดพระศกเล็กแหลม แบบ พระศกหนามขนุนไม่มีไรพระศกดังเช่นพระพุทธรูปอู่ทอง- ลพบุรี พระศอเป็นปล้อง 3 ปล้องรับกันเป็นอันดี

ครองจีวรแนบเนื้อ ชายสังฆาฎิเบื้องหน้ายาวจรดพระนาภี ปลายเป็นแฉกแบบชายธง มิได้ทำเป็นเขี้ยวตะขาบดังเช่นพุทธศิลป์สุโขทัย แต่สังฆาฎิมีเส้นคู่ขนานตรงขอบทั้งสองข้างแล้วทำปลายตัด ตรงใกล้จะถึงรอยแฉกของส่วนปลาย ดูคล้ายผ้าสองผืนซ้อนเหลื่อมกันอยู่ ตรงปลายส่วนที่เป็นแฉกชายธงถัดลงไป ทำเป็นเส้นคั่นอยู่ 3 เส้น เข้าใจว่าอาจจะเลียนแบบรอยย่นเขี้ยวตะขาบของพระพุทธรูปสุโขทัยชั้นครูก็ได้ แต่ในที่นี้คิดแบบขึ้นมาใหม่ ให้แตกต่างกันออกไปแสดงว่าสังฆาฎิพระพุทธรูปทองคำองค์นี้ ทำด้วยฝีมือประณีตเหนือสกุลช่างเดียวกันโดยทั่วไป ที่มักจะทำเป็นแฉกชายธงทิ้งไว้เฉยๆ ไม่มีการตกแต่เพิ่มเติมใดๆส่วนสังฆาฎิด้านหลัง ทำยาวลงไปถึงเบื้องล่าง จนจรดทับเกษตร (ฐานที่ประทับนั่ง)พระพุทธรูปทองคำองค์นี้ ประทังนั่งในปางสมาธิ แบบขับสมาธิราบ ประทับนั่งในลักษณะที่ดูองอาจผึ่งผายสง่างามกล่าวโดยทั่วไปพระพุทธรูปทองคำองค์นี้ มีพุทธลักษณะของพระพุทธรูปสกุลช่างสุโขทัยชั้นครูมากที่สุด แต่ก็มิได้มีลักษณาการที่นุ่มนวลอ่อนโยน น่าประทับใจดังเช่นพุทธศิลป์สุโขทัย หากแฝงไว้ด้วยลักณะเข้มแข็งบึกบึน เยี่ยงพุทธศิลป์อู่ทอง ตามแบบฉบับของสกุลช่างอยุธยา


     พุทธลักษณะดังกล่าวเป็นเอกลักษณะของพุทธศิลป์สกุลช่างอยุธยาโดยแท้ข้อสังเกต พระพุทธรูปทองคำองค์นี้ มีลักษณะ อมยิ้มอย่างเห็นได้ชัด พุทธลักษณะเช่นนี้จะมีปรากฏอยู่ในพระพุทธรูปสุโขทัยบริสุทธิ์ (หมวดใหญ่) ที่เป็นฝีมือช่างชั้นครูทั่วไป ไม่มีอยู่ในพระพุทธรูปสกุลช่างอยุธยา  ดังนั้น พระพุทธรูปทองคำสกุลช่างอยุธยาองค์นี้ จึงมีอิทธิพลของพุทธศิลป์สุโขทัยปรากฏอยู่อย่างชัดแจ้ง นับเป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธรูปทองคำองค์นี้ได้ประการหนึ่งพระพุทธรูปทองคำองค์นี้ มีขนาดช่วงพระเพลา (หน้าตัก) กว้าง 110 ซม. ส่วนสูง 170 ซม.องค์พระประทับนั่งบนฐานบัวหงายซ้อนกัน 2 ชั้น แล้วมีกลีบแซมปรากฏแต่ส่วนปลายยอดสุดของกลีบบัวอีกชั้นหนึ่ง บัวแต่ละกลีบมีรูปลักษณะคล้ายกลีบบัวจริง และทุกกลีบทำเป็นเส้นยาวตามกลีบบัวซอยถี่ยิบขนาดกันเต็มพื้นที่ คล้ายกลีบบัวตามธรรมชาติของจริง นับเป็นฐานบัวที่มิได้ปรากฏมีอยู่ตามพระพุทธรูปโดยทั่วไปนับเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของพระพุทธรูปทองคำองค์นี้พระพุทธรูปทองคำองค์นี้ สร้างขึ้นในปางที่ค่อนข้างจะผิดแปลกไปจากพระพุทธรูปสกุลช่างโดยทั่วไป กล่าวคือสกุลช่างไทยนั้น ไม่ว่าเชียงแสน สุโขทัย หรืออู่ทอง จะนิยมสร้างพระพุทธรูปนั่งในปางมารวิชัยทั้งสิ้นจนมีคำกล่าวกันว่า เกิดแต่ชนชาติไทยเราเป็นชาตินักรบ ต้องประสบกับการตู่อสู้กับข้าศึกศรัตรู ดุจพระพุทธองค์ทรงผจญมารอยู่เสมอ คนไทยจึงนิยมสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัยกันมากที่สุด พระพุทธรูปสกุลช่างสุโขทัย ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นฝีมือช่างสุดยอดของความงามในกระบวนช่างไทยเราแต่โบราณนั้น แม้จะได้รับแบบอย่างมาจากพระพุทธรูปสกุลช่างลังกา ได้ช่างลังกาเป็นครู แต่การก็กลับเป็นที่ปรากฏว่าทางลังกานิยมพระพุทธรูปปางสมาธิเป็นพื้น พระพุทธรูปสุโขทัยมีแต่พระพุทธรูปปางมารวิชัยทั้งสิ้น ที่มีประทับนั่งปางสมาธินั้นก็มีอยู่บ้างเป็นจำนวนน้อยมาก เรื่องนี้มีคำกล่าวกันในเชิงปรัชญา ให้ข้อคิดว่าพระพุทธรูปปางมารวิชัยนั้น เป็นลักษณะของผู้ที่กำลังต่อสู้เผชิญหน้ากับศรัตรูอยู่ โดยที่การต่อสู้นั้น ยังมิได้เสร็จสิ้น แต่พระพุทธรูปปางสมาธินั้น เป็นลักษระของพระพุทธองค์ที่ผ่านพ้นการผจญมาร จนได้ชัยชนะมาเรียบร้อยแล้ว จึงอยู่ในลัษณะของผู้สงบ พบแต่สันติสุข มีจิตเกษมแล้วเป็นอันดี

ต้องขออภัยข้อมูลอาจจะมากไปหน่อย ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.saraburitourism.com/tourism/goldenbuddha-move.html

หากต้องการทราบข้อมูลมากกว่านี้อ่านต่อที่ Link ด้านบนครับ สุดท้ายนี้อยากให้ทุกท่านหันหน้าเข้าวัดกันบ้าง เพื่อท่านทั้งหลายจะได้นำพระธรรมของพระพุทธเจ้าช่วยให้ท่านทั้งหลายรู้เท่าทันทุกข์ 

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป #๓๖ (ชมพระนอน วัดไม้รวก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา )


สวัดดีครับทุกท่าน วันอาทิตย์ที่ผ่านมาก็ต้องมีเรื่องให้ได้ไปวัดอีกจนได้ตามประสาครับไหนๆก็ตั้งกระทู้ชวนเที่ยววัดแล้ววันนี้ก็ขอพาไปอีกวัดแล้วกัน วันนี้จะพาไปไหว้พระขอพรช่วงใกล้ปีใหม่เพื่อความสบายใจและเป็นศิริมงคล และวันนี้จะพาไปไหว้พระนอนวัดไม้รวก หรือที่ชาวบ้านแถวนี้เรียกว่าวัดรวก

เรามาเรียนรู้ประวัติขอววัดกันซักหน่อยเพื่อที่ว่าการไปวัดของเราจะได้มีคุณค่าและเข้าใจในสถานที่ ที่เรากราบไหว้ วัดรวกหรือวัดไม้รวก เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ประมาณปีพุทธศักราช 2370 เดิมบริเวณวัดมีต้นไม้รวกขึ้นอยู่มาก ชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดตามลักษณะสภาพแวดล้อม มีพระพุทธไสยาสน์ซึ่งประดิษฐานอยู่ในเขตกำแพงแก้ว องค์พระมีขนาดยาวประมาณ 7 เมตร เป็นพระพุทธไสยาสน์ปูนปั้นลงรักปิดทองทั้งองค์


ใกล้กับวิหารพระนอนยังมีวิหารพระพุทธรูปประทับนั่งปางป่าเลไลย์อยู่ข้างๆกัน เป็นวิหารเล็กๆอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคาเป็นเครื่องไม้ทรงไทยหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ภายในมีพระพุทธรูปประทับนั่งปางป่าเลไลย์ศิลปะงานปูนปั้นลงรักปิดทองเหมือนกัน



ภายในกำแพงแก้วนอกจากจะมีวิหารพระนอนและวิหารพระปางเลไลย์แล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือพระอุโบสถหลังเก่า ที่ทรงคุณค่าอีกอย่างหนึ่งแต่น่าเสียดายที่วันที่ผมไปพระที่ถือกุญแจพระอุโบสถหลังเก่าท่านไม่อยู่เลยไม่ได้เก็บภาพมาฝากต้องขออภัย ซึ่งภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแต่ได้รับความเสียหายมากแล้ว


วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป #๓๕ (เศรษฐีเรือทอง วัดพุน้อย ลพบุรี )



สวัสดีครับทุกท่านวันนี้ผมขุนอภัยภักดีจะพาไปวัดพุน้อย วัดนี้เป็นที่รู้จักกันดีในบรรดาพ่อค้าแม่ขายผู้ที่ทำกิจการค้าขาย และผู้ที่นิยมวัตถุมงคลประเภทเมตตามหานิยม คนที่ต้องการสิ่งที่ยึดเหี่ยวจิตใจครับและสิ่งที่กระผมพูดถึงก็คือพิธียกเรือขอวัดพุน้อย ซึ่งทุกวันนี้มีผู้คนมากมายที่หลั่งไหลกันไปเข้าร่วมพิธียกเรือที่วัดเพื่อจะได้บูชาเรือแม่ตะเคียน ถึงขนาดต้องไปจองคิวรอกันตั้งแต่ตีสามตีสี่ เขาว่ากันมาอย่างนั้น ซึ่งต่างจากครั้งที่ผมได้เดินทางไปที่วัดนานมาแล้วโดยการชักชวนและรบร้าวของน้องๆแม่ค้าในตลาดประตูน้ำให้พาไปครั้งนั้นคนยังน้อยอยู่ไม่ต้องไปจองคิวไปตอนเช้าสายๆก็ได้ทำพิธี 

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป #๓๔ (วัดสัมมาชัญญาวาส คลองสามวา ชมอุโบสถดินเผา )



สวัสดีครับกลับมาเจอกันอีกครั้งกับผม"ขุนอภัยภักดี" และเหมือนเดิมกับทุกครั้งที่มาคือจะพาเพื่อนสมาชิกท่องเวปเที่ยววัด วันนี้จะพาไปชมอุโบสถดินเผาของ "วัดสัมมาชัญญาวาส" หรือชาวบ้านละแวกนี้เรียกว่า "วัดใหม่" เรามาทราบประวัติและรายละเอียดของวัดนี้ไปพร้อมๆกันครับ
วัดสัมมาชัญญาวาส เป็นวัดราษฏร์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๙๐ ถนนพระยาสุเรนทร์ แขวงบางชัน เขตคลองสามวา  กรุงเทพมหานคร  สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต ปลายปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ นายนิ่ม  เกตุหิรัญ, นายม่วม นันวิชัย, กำนันสง่า ศรีอำพันธ์  ได้เอาที่ดินจำนวน ๖ ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินของนางพริ้ง เกตุหิรัญ น้อมเกล้าถวาย เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชฯ (วาสนมหาเถระ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม แล้วพระองค์ก็ทรงมีพระเมตตารับไว้และดำเนินการสร้างวัดเป็นลำดับต่อมา เจ้าภาพได้สร้างศาลาการเปรียญไม้ขึ้นมา ๑ หลัง กุฏิเล็ก ๔ เสา ประมาณ ๒๐ หลัง เมื่อได้สร้างเสร็จแล้ว  เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงมีพระบัญชาให้อยู่ในความดูแลของวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน