วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป #๓๕ (เศรษฐีเรือทอง วัดพุน้อย ลพบุรี )



สวัสดีครับทุกท่านวันนี้ผมขุนอภัยภักดีจะพาไปวัดพุน้อย วัดนี้เป็นที่รู้จักกันดีในบรรดาพ่อค้าแม่ขายผู้ที่ทำกิจการค้าขาย และผู้ที่นิยมวัตถุมงคลประเภทเมตตามหานิยม คนที่ต้องการสิ่งที่ยึดเหี่ยวจิตใจครับและสิ่งที่กระผมพูดถึงก็คือพิธียกเรือขอวัดพุน้อย ซึ่งทุกวันนี้มีผู้คนมากมายที่หลั่งไหลกันไปเข้าร่วมพิธียกเรือที่วัดเพื่อจะได้บูชาเรือแม่ตะเคียน ถึงขนาดต้องไปจองคิวรอกันตั้งแต่ตีสามตีสี่ เขาว่ากันมาอย่างนั้น ซึ่งต่างจากครั้งที่ผมได้เดินทางไปที่วัดนานมาแล้วโดยการชักชวนและรบร้าวของน้องๆแม่ค้าในตลาดประตูน้ำให้พาไปครั้งนั้นคนยังน้อยอยู่ไม่ต้องไปจองคิวไปตอนเช้าสายๆก็ได้ทำพิธี 

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป #๓๔ (วัดสัมมาชัญญาวาส คลองสามวา ชมอุโบสถดินเผา )



สวัสดีครับกลับมาเจอกันอีกครั้งกับผม"ขุนอภัยภักดี" และเหมือนเดิมกับทุกครั้งที่มาคือจะพาเพื่อนสมาชิกท่องเวปเที่ยววัด วันนี้จะพาไปชมอุโบสถดินเผาของ "วัดสัมมาชัญญาวาส" หรือชาวบ้านละแวกนี้เรียกว่า "วัดใหม่" เรามาทราบประวัติและรายละเอียดของวัดนี้ไปพร้อมๆกันครับ
วัดสัมมาชัญญาวาส เป็นวัดราษฏร์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๙๐ ถนนพระยาสุเรนทร์ แขวงบางชัน เขตคลองสามวา  กรุงเทพมหานคร  สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต ปลายปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ นายนิ่ม  เกตุหิรัญ, นายม่วม นันวิชัย, กำนันสง่า ศรีอำพันธ์  ได้เอาที่ดินจำนวน ๖ ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินของนางพริ้ง เกตุหิรัญ น้อมเกล้าถวาย เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชฯ (วาสนมหาเถระ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม แล้วพระองค์ก็ทรงมีพระเมตตารับไว้และดำเนินการสร้างวัดเป็นลำดับต่อมา เจ้าภาพได้สร้างศาลาการเปรียญไม้ขึ้นมา ๑ หลัง กุฏิเล็ก ๔ เสา ประมาณ ๒๐ หลัง เมื่อได้สร้างเสร็จแล้ว  เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงมีพระบัญชาให้อยู่ในความดูแลของวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป# ๓๓ วัดสมานรัตนาราม (ใหม่ขุนสมานเพิ่มนคร)



สวัสดีทุกท่านวันนี้ขุนอภัยภักดีกลับมารับใช้พระพุทธศาสนาอีกกระทู้ครับ แต่ช่วงนี้ สมช. หลายๆท่านยังคงต้องทนกับภาวะน้ำท่วมใหญ่อยู่ ซึ่งผมเองก็ไม่ต่างกับหลายๆท่านทุกสิ่งอย่างยังคงไม่เข้าที่เข้าทางน้ำก็ยังคงไม่แห้ง น้องจูนของผมยังคงต้องลุยน้ำในคู้บอนและซอยสยามธรณีเข้าบ้านและต้องจอดแช่น้ำทุกวันสงสารรถครับแต่เราก็ต้องปรับตัวอยู่กับธรรมชาติให้ได้ ก่อนอื่นต้องขอออกตัวไว้ก่อนว่าภาพที่นำมาลองนี้เป็นภาพเก่าที่ได้ถ่ายไว้ก่อนแล้วเรามาเข้าเรื่องของเรากันดีกว่าครับ วัดสมานรัตนาราม (ใหม่ขุนสมานเพิ่มนคร) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง บ้านหมู่ที่ ๑๑ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา และใกล้กับโครงการเขื่อนทดน้ำบางปะกง  มีเนื้อที่ตามหน้าโฉนดที่ตั้งวัด ๒๖ ไร่ ๓งาน ๕๐ ตารางวา (ที่ดินนอกวัดไม่มี)

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป # ๓๒ ( วัดพระยาสุเรนทร์ กรุงเทพ)


สวัสดีครับกลับมาปฏิบัติภาระกิจอีกครั้งในสภาวะที่คนไทยและสมาชิกหลายๆท่านต้องประสบเหตุการภัยธรรมชาติ อุทกภัยครั้งใหญ่ในประวิติศาสตร์ วันนี้ก็ขับรถออกไปดูน้ำรอบๆบริเวณบ้าน เลยแวะวัดพระยาสุเรนทร์ตามประสาครับ มาเรียนรู้ประวัติของวัดนี้กันไปพร้อมๆกันครับ ผู้ริเริ่มก่อสร้างวัดพระยาสุเรนทร์คือพันตรีพระยาสุเรนทร์ราชเสนา(พึ่ง สิงหเสนี) ซึ่งเป็นบุตรคนที่ ๘ ของเจ้าพระยามุขมนตรี(เกด สิงหเสนี)ได้รับจองที่ดินตามศักดินาเรียบร้อยแล้ว จึงได้จัดสรรที่ดินจำนวนหนึ่ง ประมาณ ๔๘ ไร่ เพื่อสร้างวัด


วัดพระยาสุเรนทร์ เป็นวัดเก่าแก่ได้ก่อสร้างเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๔๒๕ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๖ ร.ศ.๑๐๑ ได้ทำพิธีวางศิลาประจำวัดขึ้น เมื่อสร้างวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ทำหนังสือทูลเกล้าถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ราชกาลที่ ๕ และได้รับพระราชทานที่วิสุงคามสีมา เมื่อวันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ พ.ศ. ๒๔๓๑ ปัจจุบันวัดพระยาสุเรนทร์เก่าแก่มีอายุ ๑๒๐ ปี ส่วนอุโบสถนั้นมีอายุ ๑๑๔ ปี เมื่อเจ้าคุณปู่พระยาสุเรนทร์ราชเสนา ( พึ่ง สิงหเสนี ) ได้สร้างวัดพระยาสุเรนทร์ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรและได้ปลูกกุฎีอยู่ที่โคกสารัยที่ใกล้เคียงกับศาลในปัจจุบัน และเมื่อท่านได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๔๙ และต่อมาประชาชนที่พึ่งใบบุญ ท่านอยู่ ได้ร่วมกันสร้างศาลไว้เป็นที่สถิตของวิญญาณของท่านโดยอยู่ใต้ต้นไทรและหันหน้าไปทางทิศใต้ ต่อมาได้เกิดความแห้งแล้งขึ้น
พวกชาวบ้านโดยการนำของคุณชุม สิงหเสนี ได้ทำการขุดสระน้ำขึ้น ยาวประมาณ ๑ เส้น กว้าง ๑๐ วา ต่อมาชาวบ้านได้เรียกว่า สระน้ำปู่ ซึ่งในหน้าแล้ง ประมาณเดือน ๑, เดือน ๕, เดือน 6ถ้าเกิดฝนแล้ง ชาวบ้านจะนำสัตว์เลี้ยงมากินน้ำที่สระศาลปู่ ในตอน ๑๐ โมงเช้า และ ๖ โมงเย็นเป็นประจำ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ กรมชลประทานได้ทำการขุดลอกคลองให้ลึกและกว้างประมาณ ๖ วา ในราวเดือนกรกฎาคม ๒๕๑๐ เข้าพรรษาได้ประมาณ ๑ สัปดาห์ เรือขุดได้ทำการขุดคลองมาจนถึงเขตวัด เมื่อเวลา ตี ๔ เศษ ได้ทำการขุดเข้ามาในเขตวัดเป็นกระบวยแรก คันกระบวนซึ่งเป็นโครงเหล็กภายนอก ภายในเป็นไม้กว้าง ๑๒ คูณ ๑๒ นิ้ว ได้หักลง หัวหน้าเรือขุดจึงหยุดทำการขุดและได้มาหาอาตมาปรึกษาว่าจะทำอย่างไรจึงจะขุดได้โดยไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นอีก อาตมาได้แนะนำให้เขามาทำการบวงสรวงบอกกล่าวและขออนุญาตต่อเจ้าคุณปู่ที่ศาล พวกเรือขุดจึงได้มาทำการบวงสรวงและขออนุญาตได้เอาน้ำมนต์จากท่านไปพรหม


แล้วจึงได้ทำการขุดต่อโดยสะดวกไม่มีเหตุการณ์ใดๆ ปรากฏขึ้น จนขุดมาถึงหลักเขตวัดที่ปักอยู่กลางคลองเก่าซึ่งชาวบ้านเรียกว่า หลักเมตร เวลาประมาณ ๓ นาฬิกา นายช่างประจำเรือขุดก็ได้มาหาอาตมาขอร้องให้ไปถอนหลักเขต จึงได้ไปทำการถอนหลักเขตเอาไว้ที่ข้างกุฏิ ซึ่งขณะนั้นยังไม่สว่างจึงได้ผลัดเปลี่ยนผ้าและเข้านอน ก็ได้เกิดนิมิตขึ้นว่า เจ้าคุณปู่ท่านได้มาหาและปรากฏร่างขึ้น ท่านว่าพระถอนหลักเขตแล้วต้องปักให้ใหม่นะ ในฝันก็บังเกิดความคิดขึ้นว่า จะขอเจ้าคุณปู่สักอย่างหนึ่ง จึงบอกกับท่านว่าขอให้ท่านช่วยให้หลานได้สร้างศาลให้เจ้าปู่ใหม่ ถ้าท่านไม่ช่วยหลานก็จะไม่ปักเขตให้และไม่ทำป้ายชื่อวัด ท่านยิ้มๆแล้วก็จากไป ต่อมาประมาณหนึ่งเดือน นายทองดำ สีดา ซึ่งเป็นบุตรของอาจันทร์ ได้มาหาอาตมา และถามว่าหลวงพี่ขออะไรเจ้าคุณตา ท่านไปหาผมที่บ้าน จึงบอกกับเขาว่า ขอให้ท่านได้ช่วยให้สร้างศาลให้ใหม่ เขาจึงบอกว่าผมให้หลวงพี่หนึ่งหมื่นบาท สำหรับสร้างศาลใหม่จึงได้ทำการสร้างศาลขึ้นใหม่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเมื่อสร้างศาลแล้ว คืนหนึ่ง เมื่อสวดมนต์อันเป็นกิจประจำวัน จึงได้อธิฐานจิต ขอให้ท่านได้ช่วยให้มีผู้มาช่วยหล่อรูปโลหะเท่าตัวจริงครึ่งตัวโดยถือเอาภาพของท่านเป็นต้นแบบ และเมื่อมีโอกาสจะทำบุญร้อยปีอุทิศให้ท่าน ต่อมาวันหนึ่ง คุณสมจิตต์ สิงหเสนี ได้มาหาและถามว่า หลวงพี่ขออะไรเจ้าคุณปู่ จึงบอกกับเขาว่า จะหล่อรูปของท่านไว้เป็นที่ สักการะ คุณสมจิตต์จึงมอบเงินให้แปดพันบาท เมื่อเสร็จจึงได้ทำการฉลอง เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๓
สำหรับของดีที่วัดพระยาสุเรนทร์ หลังจากพระยาสุเรนทร์ราชเสนา (พึ่ง สิงหเสนี) ได้สร้างและพัฒนาวัดแล้วท่านได้ทำพระสมเด็จวัดพระยาสุเรนทร์เอาไว้ 4 พิมพ์ด้วยกัน เมื่อ พศ. 2531 และฝังใส่ไว้ในไต้พระประธานจนถึงปัจจุบันนี้



พระสมเด็จวัดพระยาสุเรทร์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น 4 พิมพ์ทรง คือ
1. พิมพ์พระเจ้า 5 พระองค์
2. พิมพ์ทรงเจดีย์หรือทรงฐานแซม
3. พิมพ์ทรงปกโพธิ์
4. พิมพ์เล็บมือ
พุทธลักษณะของสมเด็จวัดพระยาสุเรนทร์ ซึ่งแยกพิมพ์ทรงต่าง ๆ คือ
1. พิมพ์พระเจ้า 5 องค์ ลักษณะเป็นพระเครื่อง ซึ่งมีมิติสี่เหลี่ยมผืนผ้าเกือบจะจตุรัส เช่น สมเด็จ ฯ มีรูปของพระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชรอยู่บนฐาน 2 ชั้น ปรากฏอยู่บนผนัง 5 องค์ องค์กลางใหญ่สุดและมีฐานเพียงชั้นเดียว ส่วน 4 องค์หลัง อยู่ที่มุมของสี่เหลี่ยมทั้ง 4 ด้าน ด้านละ 1 องค์
2. พิมพ์ทรงเจดีย์หรือฐานแซม พุทธลักษณะเป็นพระเครื่องซึ่งมีมิติสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยแท้จริง บางองค์ถ้าตัดกรอบแคบก็จะดูยาวหรือยืดมากไปหน่อยไม่มีปรกโพธิ์ รูปองค์พระล่ำสัน พระเศียรค่อนข้างเล็ก พระเพลาค่อนข้างแคบ องค์พระสถิตย์อยู่บนฐาน 3 ชั้น ชั้นกลางเป็นฐานสิงห์
3. พิมพ์ทรงปกโพธิ์ พุทธลักษณะเป็นพระเครื่องซึ่งมีมิติสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่กว่าพิมพ์ทรงเจดีย์ มีพระพุทธรูปนั่งสมาธิราบเหนือฐาน 3 ชั้น ซึ่งชั้นกลาวงจะเป็นฐานสิงห์ชัดเจนกว่าพิมพ์ทรงเจดีย์ด้านเหนือและด้านข้าง ๆ ของพระเศียรมีพระตุ่มเล็ก ๆ เรียกว่า ปรกโพธิ์รายรอบอยู่ภายในกรอบซุ้มเส้นลวด
4. พิมพ์เล็บมือ พุทธลักษณะเป็นพระพิมพ์เดียวของวัดที่มีมิติแปลกออกไปคือ เป็นรูปทรงกรอบแก้วหรือคล้ายกับรูปเล็บมือ รูปองค์พระผึ่งผาย พระกรกางและหักมุมตรงข้อพระศอกอย่างเห็นได้ชัด มีซานรับ 2 ชั้น เป็นฐานหมอน มีฐานแซมอนขณะนี้ครับ
สุดท้ายนี้ก็ขอให้เพื่อนสมาชิกทุกท่านอยู่อย่างมีสติในทุกสถานะการณ์อย่างคำสอนขององค์พระพุทธเจ้าและผ่านพ้นเหตุการณ์ร้ายๆไปได้ด้วยดีครับ








เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป # ๓๑ (กู่กระโดน อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด)


สวัสดีครับวันนี้ขุนอภัยภักดีไม่ได้พาเข้าวัดนะครับแต่จะพาไปชมโบราณสถานกู่กระโดน ที่ร้อยเอ็ด เนื่องจากมีธุระผ่านไปขากลับแวะเก็บภาพมาฝากทุกท่านเหมือนเคยหวังว่าคงจะยังไม่เบื่อกันนะครับ มาชมภาพพร้อมประวัติของสถานที่เท่าที่อจะหาได้จากอินเตอร์เน็ตบ้านเราแต่ต้องขออภัยและขอออกตัวไว้ก่อนว่ารายละเอียดสถานที่มีน้อยมากที่จะให้ค้นคว้ามาเล่า น้อยพอๆกับการบูรณะและหวงแหนสมบัติทางประวัติศาสตร์ของชาติ
กู่กระโดนเป็นโบราณสถานก่อสร้างด้วยศิลาแลง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้า ทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียว ด้านทิศตะวันตกทำเป็นประตูหลอก



ภายในบริเวณกู่กระโดนนี้ยังมีการค้นพบทับหลังตกอยู่บริเวณโบราณสถาน 2 ชิ้น เป็นภาพเล่าเรื่อง ชิ้นหนึ่งเป็นภาพบุคคลหลายคน ทางขวาสุดของภาพสลักเป็นภาพวานร มอบสิ่งของกับสตรี สันนิษฐานว่าเป็นภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ตอน หนุมานถวายแหวนส่วนทับหลังอีกชิ้นสลักเป็นรูปสตรียืนแบกสิ่งของ ซึ่งอาจเป็นคานหรือคันศรอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว มีรูปบุคคลขนาดเล็กกว่า นั่งแสดงความเคารพอยู่ด้านข้าง ซึ่งยังไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นภาพสลักจากเรื่องใด เมื่อพิจารณารูปแบบของทับหลัง โดยเฉพาะเครื่องแต่งกายของบุคคล จัดอยู่ในศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลายอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 กู่กระโดนได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2478 ทิ้งท้ายกระทู้ด้วยน้องจูนกับกู่กระโดน



เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป # ๓๐ (วัดเขารูปช้าง จ.พิจิตร )




วันนี้ผมขุนอภัยภักดีกลับมาทำหน้าที่อีกกระทู้หนึ่งที่ขอฝากไว้กับทุกๆท่าน เพื่อที่พอจะโน้มน้าวให้เราได้หันหน้าเขาวัดกันบ้างไม่ว่าจะเข้าไปทำบุญไหว้พระ เช่าบูชาพระเครื่องวัตถุมงคลหรือด้วยเหตุผลใดก็ตาม และวันนี้จะพาขึ้นไปเที่ยววัดเขารูปช้าง เมืองพิจิตร เรามาทราบประวัติของวัดกันพอสังเขป เพื่อเป็นความรู้เล็กๆน้อยๆประกอบการชมกระทู้และรูปภาพที่นำมาให้ชมหลักฐานทางประวัติศาสตร์  วัดเขารูปช้าง  ได้สร้างขึ้นปี  พ.ศ.2244  พร้อมกับวัดโพธิ์ประทับช้าง  ในสมัยพระศรีสรรเพ็ชรที่  หรือพระเจ้าเสือ  แห่งกรุงศรีอยุธยา  โดยสมุหนายก  ผู้ควบคุมไพร่พลโยธามาสร้างวัดโพธิ์ประทับช้างตามพระราชประสงค์  ได้มาพบภูเขาส่วนยอดมีลักษณะเหมือนรูปช้าง  เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะที่จะสร้างวัด  สร้างที่พักอยู่บนที่สูงเพื่อตรวจภูมิประเทศ  ดูแลความปลอดภัยของไพร่พล  เมื่อสร้างเสร็จแล้วให้ชื่อว่า วัดเขารูปช้าง”  ตามลักษณะหินสีขาวที่ซ้อนกันอยู่เป็นรูปช้างคุกเข่าบนยอดเขามีล ักษณะการก่อสร้างสถาปัตยกรรมโบสถ์   วิหาร  พระพุทธรูป  พระปรางค์ เจดีย์ เป็นแบบสมัยอยุธยา


ต่อมาประมาณ  พ.ศ.2300  ได้มีการสร้างเจดีย์บรรจุพระธาตุไว้บนส่วนหัวของรูปช้าง  ในสมัยรัชกาลที่  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ต่อมาเจ้าฟ้ามงกุฎ หรือรัชกาลที่  ในสมัยยังทรงผนวชเป็นภิกษุ  ได้เสด็จธุดงค์เมืองนครสวรรค์  พิจิตร  พิษณุโลก  สุโขทัย  สวรรคโลก  และอุตรดิตถ์      ทรงแวะประทับที่วัดเขารูปช้างและตำบลฆะมัง  เพื่อร่วมฉลองวิหารวัดเขารูปช้าง   เมื่อวันที่  22–26  มกราคม  2376  นับได้ว่าวัดเขารูปช้างแห่งนี้  พระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้สร้าง  และพระเจ้าแผ่นดินยังได้ทรงมาประทับร่วมฉลองวิหารอีกด้วย     จึงถือว่างานประเพณีปิดทองไหว้พระ  วันเพ็ญเดือน  ก็นับเริ่มตั้งแต่นั้นมา  นับเป็นเวลากว่าร้อยปี    ในระยะเวลาถัดมา   วัดเขารูปช้างได้รับการพัฒนาให้มีความเจริญขึ้นมาตามลำดับ  เท่าที่ทราบเริ่มจากในสมัยของพระเดชพระคุณพระครูพิพัฒน์ธรรมคุณ  หรือหลวงพ่อเตียง  สมัยพระครูวิเวกธรรมมาภิรมย์  หรือหลวงพ่อเทิ้ม   และสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน 


วัดเขารูปช้าง ในปัจจุบันบนยอดเขามีเจดีย์สีทองเหลืองอร่าม ตั้งอยู่บนก้อนหินที่ซ้อนกันจนมองดูคล้ายกับรูปช้างกำลังหมอบคลานอยู่ แต่เดิมเป็นเจดีย์เก่ามาก่อน และทางวัดได้ทำการปฏิสังขรณ์ใหม่เมื่อประมาณ 20 ปีมานี้ โดยประดับกระเบื้องเคลือบสีทองทั้งองค์ มีรั้วรอบองค์เจดีย์ สำหรับลานกว้างบนยอดเขา ทางวัดได้สร้างวิหารใหญ่ขึ้นหลังหนึ่งและมีเจดีย์เก่าอยู่องค์หนึ่งเป็น เจดีย์แบบลังกาทรงเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา มีตัวระฆังเป็นกลีบมะเฟืองแต่ยอดเจดีย์หักแล้ว นอกจากนั้นยังมีมณฑปแบบจตุรมุขหลังเก่าอยู่ใกล้กับโบสถ์หลังใหม่
ภายในมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทสำริดและที่ฝาผนังมีภาพเขียนเรื่องไตรภูมิ พระร่วง ในบริเวณวัดจะพบว่ามีสวนสัตว์ขนาดเล็ก บริเวณศาลากลางน้ำจะมีปลาตัวโตจำนวนมาก ที่วัดนี้มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดพิจิตร คือหลวงพ่อเตียง มีพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อเตียง เสร็จแล้วเดินขึ้นตามทางบันไดนาค ความสูง 136 ขั้น  ขึ้นไปชมทิวทัศน์บนยอดเขา  เมื่อขึ้นไปด้านบนสุดแล้วจะสามารถมองเห็นตัวเมืองพิจิตรและตัวเมืองตะพานหิน ได้ชัดเจน



ประวัติของหลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้างกับครับท่านมีนามเดิมว่า เตียง เกิดปีฉลูตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น13 ค่ำ เดือน 3 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2444 บ้านดงกลาง ตำบลดงป่าคำ อ.เมือง จ.พิจิตร มีโยมบิดาชื่อ เลี่ยม โยมมารดาชื่อ ลำภู นามสกุล สวนสนิท มีพี่น้องเป็นผู้หญิงเพียงคนเดียว และยังมีพี่น้องต่างมารดาอีก 9 คน เมื่อสมควรแก่การศึกษา พ่อแม่ของหลวงพ่อเตียงได้ส่งให้ท่านร่ำเรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านดงป่าคำ จนกระทั่งจบชั้นประถมปีที่ 4 เมื่อปี พ.ศ.2455 บรรพชาอุปสมบทท่านอุปสมบทเมื่ออายุได้ 22 ปี ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2466 ที่วัดดงกลาง โดยมี พระครูศีลธรารักษ์ เป็นพระอุปัชณาย์ และพระอธิการปุ่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์   ได้รับฉายา เนกขัมโม เมื่อรับการอุปสมบทแล้วท่านได้อยู่จำพรรษาเพื่อร่ำเรียนพระธรรมวินัยที่วัดดงกลางเรื่อยมาจนมีความรอบรู้ในพระธรรมวินัยดีแล้ว




ท่านจึงได้เดินทางจากวัดดงกลาง ไปศึกษาแพทย์แผนโบราณกับ หมอแก้ว บ้านท่าบัวทอด ที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง เพื่อไว้สงเคราะห์ญาติโยมในคราวจำเป็นเท่าที่พอจะสงเคราะห์ได้  เมื่อเรียนจบหมอโบราณแล้วหรือภาษาตลาดว่าสามารถประกอบการได้แล้ว หลวงพ่อเตียงได้ศึกษาไสยเวทอันเป็นตำราทางเวทมนต์กับหลวงพ่อปุ่น ผู้เป็นพระกรรมวาจาฯ จนรู้ซึ้งถึงแก่นแท้แล้วในด้านเวทมนต์ แล้วจึงเดินทางไปเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับ หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง  หลวงพ่อพิธ นั้นเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จึงถือได้ว่าหลวงพ่อเตียง ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์สายตรงของหลวงพ่อเงิน ที่สืบทอดวิชากันมาเพียงไม่นาน เพราะหลวงพ่อเตียงนั้นท่านเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อพิธ หรือศิษย์รักที่ถูกใจอาจารย์นั้นเอง ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามสำหรับวันนี้ขอพอแค่นี้ก่อนครับ ขอตัวไปนอนก่อนครับและขอขอบคุณภาพหลวงพ่อเตียงจาก www.luangporngoen.com