วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดีทริป#๒๔(ถวายผ้าป่าเทียนพรรษา 9 วัด จ.กาญจนบุรี ปี54)
ทริปนี้ไปกับสถานธรรมโพธิสัตโตตรงข้ามบ้านครับ ปีนี้ไปจังหวัดกาญจนบุรี ออกเดินทางจากกรุงเทพตอนเที่ยงคืนวันเสาร์ จำนวนรถปีนี้ร่วมขบวนทั้งหมด 13 คันรถบัส เริ่มวัดแรกที่เดินทางไปถึงคือวัดถ้ำเขาน้อย ชมบรรยากาศกันเลยครับ
วัดถ้ำเขาน้อยเป็นวัดในพุทธศาสนาแบบอนัมนิกาย(ญวน) ภายในวัดประกอบด้วนสถาปัตยกรรมแบบจีน ปริศนาธรรมจากรูปปั้น ๑๘ พระอรหันต์กับหลวงจีน











เสร็จจากวัดถ้ำเขาน้อย ผมและชาวคณะก็ออกเดินทางต่อ
วัดที่ 2 คือวัดม่วงชุม ที่นี้มีหลวงพ่อเที่ยง ซึ่งท่านได้ละสังขารของท่านไปแล้ว แต่สรีระสังขารของท่านยังไม่เน่าเปื่อย ซึ่งทางวัดได้นำร่างของท่านไว้ในโลงแก้วในวิหารภายในวัด







เสร็จภาระกิจที่วัดม่วงชุม เราก็เดินทางต่อ
วัดที่  3 วัดมโนธรรมาราม หรือวัดนางโน  วัดนางโนเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วหลายร้อยปี  แต่หลักฐานการก่อสร้างไม่ปรากฏชัดว่าสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. ใดหากมีศิลปกรรมภายในวัดคือ พระปรางค์  เป็นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น วัดนางโนมีเนื้อที่ประมาณ 30  ไร่ด้านฝั่งตะวันตกของวัดติดลำน้ำแม่กลอง เขตตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จ. กาญจนบุรีสันนิษฐานกันว่าเดิมทีวัดนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนแต่ครั้งเกิดสงครามไทยกับพม่า ชาวบ้านจึงอพยพหลบหนีไปที่อื่น วัดจึงตกอยู่ในสภาพเป็นวัดร้างเช่นเดียวกับอีกหลายๆวัดในเขตเมืองกาญจนบุรี ครั้นสงครามสงบลง ชาวบ้านจึงได้กลับถิ่นฐานเดิมและบูรณะซ่อมแซมวัด แล้วจึงนิมนต์พระภิกษุให้มาจำพรรษาในครั้งนั้น  มีผู้หญิงท่านหนึ่งชื่อ "โน" เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัด เมื่อทุกอย่างสำเร็จลงแล้ว ชาวบ้านจึงได้เรียกวัดนี้ว่า "วัดนางโน" เรื่อยมาจนกระทั่งได้ชื่อเป็นทางการว่า"วัดมโนธรรมาราม"
เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2502จากหนังสือวรรณคดีไทยเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดกุมารทอง บุตรนางบัวคลี่
ตอนที่ว่า - - >
"อุ้มเอาทารกยกจากท้อง                            กุมารทองมาเถิดไปกับพ่อ
หยิบเอาย่ามใหญ่ใส่สวมคอ                         เอาผ้าห่อลูกชายสะพายไป
เปิดประตูจู่ออกมานอกบ้าน                          รีบเดินผ่านป่าตัดเข้าวัดใต้
ปิดประตูวิหารลั่นดาลใน                               ลิ่มกลอนซ่อนใส่ไว้ตรึกตรา"

 หนังสือสมุดราชบุรีของสยามรัฐพิพิธถัณฑ์ พุทธศักราช 2468 กล่าวไว้ในตำนานเรื่องเมืองกาญจนบุรีเกี่ยวกับการการปกครองท้องที่ในระเบียบใหม่เมื่อ ร.ศ.114 ถึง ร.ศ.116 ได้แบ่งอาณาเขตเมืองกาญจนบุรีไว้เป็น3 อำเภอ คือ1. อำเภอเมืองกาญจน์    2.อำเภอใต้  3.อำเภอเหนือ- อำเภอใต้ที่ว่านี้ ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่ท่าไม้รวก ตำบลม่วงชุม ริมแม่น้ำแม่กลอง- ร.ศ.120 ย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่ที่ตำบลท่าม่วงฝั่งซ้ายริมแม่น้ำแม่กลอง เปลี่ยนชื่อเป็นตำบลวังขนาย- พ.ศ. 2490 ที่ว่าการอำเภอย้ายไปตั้งที่ริมถนนแสงชูโต ในเขตตำบลท่าม่วง เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอท่าม่วง จนถึงปัจจุบันนี้ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่า วัดใต้ ที่กล่าวในวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้าง ขุนแผน ก็คือ วัดนางโน นั่นเอง























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น