วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป #๓๕ (เศรษฐีเรือทอง วัดพุน้อย ลพบุรี )



สวัสดีครับทุกท่านวันนี้ผมขุนอภัยภักดีจะพาไปวัดพุน้อย วัดนี้เป็นที่รู้จักกันดีในบรรดาพ่อค้าแม่ขายผู้ที่ทำกิจการค้าขาย และผู้ที่นิยมวัตถุมงคลประเภทเมตตามหานิยม คนที่ต้องการสิ่งที่ยึดเหี่ยวจิตใจครับและสิ่งที่กระผมพูดถึงก็คือพิธียกเรือขอวัดพุน้อย ซึ่งทุกวันนี้มีผู้คนมากมายที่หลั่งไหลกันไปเข้าร่วมพิธียกเรือที่วัดเพื่อจะได้บูชาเรือแม่ตะเคียน ถึงขนาดต้องไปจองคิวรอกันตั้งแต่ตีสามตีสี่ เขาว่ากันมาอย่างนั้น ซึ่งต่างจากครั้งที่ผมได้เดินทางไปที่วัดนานมาแล้วโดยการชักชวนและรบร้าวของน้องๆแม่ค้าในตลาดประตูน้ำให้พาไปครั้งนั้นคนยังน้อยอยู่ไม่ต้องไปจองคิวไปตอนเช้าสายๆก็ได้ทำพิธี 


ก่อนอื่นเรามาทราบประวัติของวัดกันก่อนครับแล้วจะค่อยๆเล่าเรื่องพิธียกเรือให้ฟัง   วัดพุน้อย 3 หมุ่ที่ 1 ตำบลชอนม่วง อำเภอบ้านหมี่จังหวัดลพบุรี แต่เดิม พุน้อยเป็นชื่อของ น้ำที่ผุดขึ้นมาคล้ายน้ำพุตลอดทั้งปี ไม่มีวันแห้ง จึงเป็นชื่อเรียกขานหมู่บ้านแห่งนี้ วันที่25 เมษายน พศ 2515 หมอเคลือบ และนาง บุญมา เหมือนเอี่ยม ได้มอบถวายที่ดิน จำนวน 6 ไร่ 1 งาน 53 ตารางวา เพื่อสร้างวัดพุน้อย หลวงพ่อชื้น บุญยกาโม นำชาวบ้านพุน้อยร่วมก่อสร้าง ได้ 4 พรรษาท่านจึงมรณภาพ ต่อมาปี พศ.2519 หลวงปู่แบน จนฺทสโร มาอยู่จำพรรษา และได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีก15 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา จนกระทั้งท่านได้มรณภาพลงเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2543 หลวงปู่แบน จนังทสโร ท่านเป็นเจ้าอาวาสนั้น ได้ร่วมกับชาวบ้านพุน้อยพัฒนาวัดจนเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้วัดที่ไม่มีคนรู้จัก กลายเป็นวัดที่มีคนเชื่อถือเลื่อมใสศรัทธาเดินทางมากราบไหว้กันอย่างไม่ขาดสาย เพียงชั่วระยะเวลาไม่กี่ปี


การเดินทางไปยังวัดพุน้อย มีถนนลาดยางถึงวัด สะดวกสบายตลอดการเดินทาง วัดพุน้อยก็มีสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุภายในวัดแทบจะครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ และอื่นๆอีกจำนวนมาก จากวัดเล็กๆที่ห่างไกลความเจริญ กลายเป็นวัดที่มีประชาชนรู้จักกันเกือบทั้งประเทศ มีการนำกฐินและผ้าป่าสามัคคี มาทอดกันอย่างล้นหลาม ตลอดจนการปฏิบัติธรรมปัจจุบัน พระครูสมุห์สุทิน สุทินนังโน เจ้าอาวาสวัดพุน้อย ท่านยังคงสืบสานวิชาอาคม ที่รับจากหลวงปู่แบน จนฺงทสโร ในเรื่องเมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการค้าขาย ที่หลวงปู่แบนได้สร้างเรือพุทธคุณขึ้นมา ซึ่งใครได้ไปบูชาจะประสบผลสำเร็จกันแทบทุกคน จึงมีพุทธศาสนิกชนเดินทางมาที่วัดพุน้อยกันอย่างเนืองแน่นในแต่ละวัน



วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2552 เวลา 15.00 น. อดีตพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เสด็จไปทรงเป็นประธานทอดจุลกฐินสามัคคีโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวฯ ที่วัดพุน้อย ในการดำเนินการประกอบพิธีทำผ้าจุลกฐินซึ่งเป็นการทำผ้าไตรจีวรให้แล้ว เสร็จทันประกอบพิธีทอดกฐินสามัคคี โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ฯภายในวันเดียวนี้ วัดพุน้อยได้รับแรงศรัทธา ตลอดจนความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจจากประชาชนในอำเภอ บ้านหมี่และอำเภอต่างๆของจังหวัดลพบุรี รวมถึงพุทธศาสนิกชนจากจังหวัดใกล้เคียงและ ผู้ที่อยู่ห่างไกล หลั่งไหลมาร่วมในพิธีการทำผ้าจุลกฐินโดยเสด็จพระราชกุศลกันอย่าง เนืองแน่น ซึ่งในปีนี้เป็นการจัดประเพณีจุลกฐินที่วัดพุน้อยต่อเนื่องเป็นปีที่ ๓ โดยชาวบ้าน และผู้มาร่วมงานต่างเริ่มช่วยกันเก็บฝ้ายตั้งแต่กลางวันวันเสาร์ที่ ๑๗ ตุลาคมและเริ่มดำเนินการหลังเวลา ๒๔.๐๐น.ตามขั้นตอนอิ้วฝ้าย ตีฝ้าย เข้าใจฝ้าย กรอหลอดฝ้าย เดิน เส้นด้าย ใส่กี่ เก็บตะกอ ทอเป็นผืน ตัดขันฝ้าย เย็บย้อมและซักรีดเป็นผ้าไตรจีวร จำนวน ๑ ชุด แล้วเสร็จภายในช่วงเวลาบ่ายวันอาทิตย์ที่ ๑๘ ตุลาคม


สิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้วัดพุน้อยนั้นมีสิ่งศักดิ์สิทธิและเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านและพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศก็คือการยกเรือ การสร้างเรือ เพื่อถวายแด่แม่ตะเคียนทองสำหรับคนที่ชอบการเสี่ยงทายมักจะได้เดินทางมาที่วัดพุน้อยได้ขอโชคลาภด้วยการบนบานขอให้ถูกหวย พร้อมกันนี้ก็จะนำผ้าไหมซึ่งตัดเป็นชุดไทยกับตัวหุ่น นำมาถวายแม่ตะเคียนทองเพื่อเป็นการแก้บน ทำให้ปัจจุบันวัดพุน้อยชุดผ้าไหมไทย มากมายหลายหลากสีและมีความสวยงามมีจำนวนนับเป็น หมื่นชุด จนทางวัดต้องสร้างห้อง ไว้เก็บโดยเฉพาะ สำหรับชุดผ้าไหมไทย
สำหรับพิธียกเรื่อนั้นเราจะนำเรือลำที่เราชอบเข้าไปในห้องที่หลวงพ่อใช้ทำพิธี โดยหลวงพ่อท่านจะชี้แจงและบอกกล่าวขั้นตอนการยกเรือให้ฟังก่อนซึ่งจะให้คนที่เข้าร่วมทำพิธีนำแก้วแหวนเงินทองใส่ไว้ในลำเรือที่จะทำพิธียก หากท่านใดยกเรือได้จึงจะเราบูชาเรือกลับบ้าน โดยมีเงื่อนไขว่าหากสามีเข้าทำพิธีแล้วไม่สามารถยกเรือได้ก็ให้ภรรยาเข้าไปยกแทนได้อีกรอบหนึ่ง พี่น้องญาติเพื่อนๆ ไม่สามารถยกแทนกันได้ โดยท่านให้เหตุผลว่าหากมีการทำพิธีแทนกันตอนดีๆก็คงจะดีกันไป แต่หากว่าวันใดที่ผิดใจกันหากว่ามีเรื่องราวขึ้นมาและไม่มีสติก็จะว่ากันไปต่างๆนาๆ ท่านจึงไม่ให้ทำพิธีแทนกันหากอยากได้ไปบูชาก็ให้มาทำพิธีกันเอง แล้วจึงเล่าเรื่อง รุกขเทวดาที่อาศัยต้นตะเคียนทองใหญ่ที่วัด ท่านว่ารุกขเทวดาจำพวกนี้จะอาศัยและสิงสถิตอยู่ตามต้นไม้ใหญ่และสามารถเสดงอิทธิฤท์ได้ ท่านมาเข้าฝันหลวงพ่อแบนว่าท่านจะช่วยทำนุบำรุงพระศาสนา โดยให้ทางวัดสร้างเรือเพื่อให้ผู้คนได้เช่าบูชาและนำเงินมาทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา จากนั้นหลวงพ่อท่านก็สั่งไว้ว่าหากเราต้องการสิ่งได้ก็ให้บนหรือบอกเล่ากับเรือแม่ตะเคียน และเมื่อเราได้สิ่งที่ต้องการแล้วก็ให้นำเงินส่วนหนึ่งถวายแม่ตะเคียนโดยการเอาเงินจำนวนนั้นใส่ไว้ในเรือ หรือหากว่าเราจะไปทำบุญที่ไหนก่อนออกจากบ้านก็ขอให้เชิญแม่เคียนไปทำบุญด้วยกันและขอให้คุ้มครองให้การเดินทางปลอดภัย  สำหรับเงินที่เรานำไปถวายแม่ตะเคียนหากได้จำนวนที่เหมาะสมก็ให้เชิญแม่ตะเคียนไปร่วมกลับไปทำบุญที่วัด



อีกอย่างที่นิยมทำกันคือการนำเรือที่เรายกมาได้ไปทำพิธีลงใหม่และจะนำเงินที่ถวายแม่ตะเคียนถวายวัดในตอนนั้นก็ได้  หลวงพ่อท่านยังบอกว่า คนสมัยนี้มีปัญญามาก ยิ่งมีปัญญามากศรัทธาจะยิ่งน้อยลง แต่ก็มีอีกจำพวก ที่กลับกันเป็นว่า มีศรัทธามากเกินไป แต่มีปัญญาเพียงน้อยนิด ไม่สมดุลกันเลย ใครที่มาที่นี่ ก็ขอให้มีปัญญากับศรัทธาเท่าๆกัน อย่าให้อะไรมันทำหน้าที่เกินกันไปละ   สำหรับผมหลังจากที่ได้ผ่านนี้มาแล้วโดยส่วนตัวได้อะไรมาก็พอดูไม่ว่าจะเป็นกุศโลบายที่หลวงพ่อท่านได้วางเอาไว้ให้คนเข้าวัดทำบุญ การที่ท่านสอนให้รู้จักขยันทำมาหากินโดยการใช้ศรัทธาจากแม่ตะเคียนเป็นกำลังใจในการทำงานโดยไม่ต้องรอให้ใครมาช่วย แม้แต่การที่จะต้องเดินทางมาทำพิธีเอง ตามคำที่เราๆท่านๆได้ฟังผ่านรู้มาบ่อยๆว่า อัตตาหิ อัตตโน นาโถ ส่วนเหตุผลอื่นๆขึ้นอยู่กับแต่ละท่านครับ หวังว่าทุกท่านที่ผ่านมาชมกระทู้คงได้รับประโยชน์จากกระทู้บ้างไม่มากก็น้อย ขอบคุณภรรยาที่อดทนติดสอยห้อยตามไปทุกที่



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น