วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป # ๒๖ ( ไหว้หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี )


วันนี้จะพาไปไหว้หลวงพ่ออี๋ ที่วัดสัตหีบ ชลบุรี วัดสัตหีบ หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันในนาม " วัดหลวงพ่ออี๋ " ก็เพราะว่า หลวงพ่ออี๋ เป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้นโดยตั้งอยู่เลขที่ 333 หมู่ที่ 1 ถนนชายทะเล ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยวัดถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ 2442 นายขำ และ นางเอียง ทองขำ ได้ขอพระราชทานอธิบดีเป็นที่ดินว่างเปล่าเป็นป่าไม้ที่ไม่มีเจ้าของอนุญาติให้สร้างวัด ด้านเหนือติดทางเกวียน ด้านใต้ติดทะเลและ ด้านตะวันตกติดป่า ด้านตะวันออกติดที่ดินบ้านสัตหีบ โดยในปัจจุบันวัดนี้มีเนื้อที่จำนวน 30 ไร่ 28 ตารางวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอุโบสถหลังแรกเมื่อวันที่ 21 กันยายน ร.ศ. 138 พ.ศ.2463 เนื้อที่ได้รับพระราชทาน กว้าง 2 เส้น ยาว 3 เส้น
ประวัติของหลวงพ่ออี๋ พระครูวรเวทมุนี หรือที่ปรากฎในนามที่รู้จักกันทั่วไปว่า " หลวงพ่ออี๋ " เพราะท่านชื่อ " อี๋ " ตั้งแต่เกิด เป็นบุตรชายของ นายขำ และนางเอียง ทองขำ เกิดวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2408 ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 11 ค่ำเดือน 11 ปีฉลูที่บ้านตำบลสัตหีบ กิ่งอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อท่านอายุได้ 25 ปีได้ เข้าอุปสมบทที่วัดอ่างศิลานอกมี พระอาจารย์จั่น จนทโส เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยในครั้งนั้นพระอุปฌาย์ได้ตั้งฉายาให้กับท่านว่า " พุทธสโร "



เมื่อท่านอุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัย และศาสนพิธีในสำนักพระอุปัชฌาย์รวม 6พรรษาโดยว่าเรื่องพระพุทธมนต์ หรือความแม่นยำในพระปาฏิโมกข์ และต่อมาได้ไปศึกษาวิปัสสนาธุระ ในสำนักของท่านพระครูนิโรธาจารย์ ( หลวงพ่อปาน ) วัดบางเหี้ย ที่จังหวัดสมุทรปราการ จนมีความชำนาญในสมถะวิปัสนาจึงได้กลับมาจำพรรษาที่วัดอ่างศิลาอีกเมื่อพรรษาที่ 11 ท่านได้กลับมาเยี่ยมญาติที่วัดสัตหีบ และในพรรษานั้นเองท่านได้ร่วมมือ กับญาติโยมจัดการย้ายสำนักสงฆ์เดิมที่มีอยู่ที่หัวตลาด มาสร้างที่วัดสัตหีบในปัจจุบันและญาติโยมได้อาราธนาให้ท่านปกครองวัดสัตหีบ สืบจนสิ้นอายุขัยของท่าน



ท่านเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกและเป็นผู้สร้างวัดแห่งนี้เพราะทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่ท่านมีส่วนในการสร้างเสมอ นับว่าท่านมีบุญคุณแก่วัดสัตหีบเป็นอันมาก ต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลสัตหีบเมื่อ พ.ศ 2467 และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อตำบลสัตหีบได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะแขวงกิ่งอำเภอสัตหีบในปีพ.ศ.2484 โดยท่านได้รับสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระครูวรเวทมุนี ซึ่งท่านมีความรู้ทางด้านวิปัสสนาธุระซึ่งญาติโยมทั้งหลายต่างนิยมมาให้ท่านปลุกเสกแม้ท่านจะได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูวรเวทมุนี แล้วก็ตามประชาชนทั่วไปก็ยังนิยมเรียกท่านว่า " หลวงพ่ออี๋ "



จริยวัตรของท่านพระครูวรเวทมุนี หรือ หลวงพ่ออี๋ ท่านเป็นสุปฎิปัณโณรูปหนึ่ง เพราะท่านเต็มไปด้วยความเมตตาไม่รักหรือโลภโกรธหลง ในสิ่งรอบกายและเอกลาภใดๆ ไม่ว่าจะได้เงินทองหรือสิ่งของมีค่าต่างๆที่ชาวบ้านต่างมาถวายท่านก็มิได้ใยดีต่อสิ่ง
ของเหล่านั้นโดยท่านจะนำสิ่งของเหล่านั้นมากองๆไว้ในห้องส่วนตัวของท่าน ส่วนตัวท่านเองไม่ได้อยู่ในห้องนั้น กลับออกมานอนข้างนอกท่ามกลางกองสมุนไพรบนเสื่อหมอนเล็กๆทั้งนี้เพื่อความสะดวกของบรรดาชาวบ้านที่จะมาขอความช่วยเหลือจากท่าน
หลวงพ่ออี๋มีความเชี่ยวชาญในด้านสมถะวิปัสสนาธุระมาก คือคล่องแคล่วในการเข้าในออกนอกและในการพักจิตอยู่เป็นกสิณ เมื่อท่านปราถนาจะสำรวมจิตแล้วไม่มีอะไรมาขัดขวางทางเดินภายในของท่านได้ ท่านสามารถยกจิตให้พ้นจากเวทนาได้เสมอโดยไม่เคยปริปากบ่นในเรื่องทุกขเวทนาใดๆให้ผู้อื่นได้ยินเลยแม้เจ็บป่วย ก็ยังคงอยู่ในอาการอันสงบจนหมดอายุขัยท่านด้านวัตถุมงคลท่านสร้างไว้ให้เป็นขวัญและกำลังใจของประชาชนไว้แจกทหารเรือหรือเสื้อยันต์ ผ้าพันหมวกที่ขึ้นชื่อมากที่สุดในบรรดาเครื่องรางของท่านเห็นจะ
ได้แก่ " ปลัดขิก "ที่มีชื่อเสียงในด้านมงคล ทำมาค้าขึ้นที่ผู้คนนิยมเช่าไปบูชากัน



หลวงพ่ออี๋เริ่มอาพาธ ด้วยอาการฝีที่คอตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2489 ท่านไม่ได้ใส่ใจที่จะรักษาโดยปรารภว่ามันคงมาเอาชีวิตของท่าน ท่านเองได้แต่เอายาสมุนไพรของท่านเองปิดบ้างพอกบ้างก็ไม่ทุเลาลงเลย แต่ท่านก็ไม่ได้หยุดการรับนิมนต์ไปในที่ใดๆ จนโรคฝีได้กำเริบมาจนวันเข้าพรรษา แล้วพิษของมันต้องทำให้ท่านพักการทำวัตรสวดมนต์ กำลังของท่านเริ่มถดถอยลงตามลำดับ
แม้มีผู้ห่วงใยแนะนำให้ท่านเข้าโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาแต่ท่านก็ปฏิเสธและบอกว่า " ช่างมันเถอะ มันเป็นกรรมเก่าที่เจ้ากวางหนองไก่เตี้ย มันมาตามทวงเอาชีวิต " ท่านบอกกับคนใกล้ชิดว่าเมื่อชาติก่อนท่านเคยไปยิงกวางที่หนองไก่เตี้ยถูกที่ซอกคอของเจ้ากวางทำให้กวางถึงแก่ความตายในที่สุดกรรมนั้นจึงมาให้ผลในชาตินี้ท่านอยากจะชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นเสียที จนเมื่อพอถึงวันที่ 20กันยายน พ.ศ.2489 ตรงกับแรม 10 ค่ำเดือน 10 ปีจอเวลา 20.35 น.หลวงพ่อบอกให้พระที่เฝ้าพยาบาลท่านอยู่พยุงท่านลุกนั่งแล้วสั่งไม่ให้ใครแตะต้องตัวท่านนั่งทำสมาธิตัวตรงแล้วทุกคนก็ตกใจกันสุดขีดเมื่อไม้กระดานแผ่นหนึ่งในกุฏิล้มโครมมาฟาดกับพื้นและแผ่นกระจกแตกกระจายทั่วพื้นพอหายตกใจได้สติก็รีบหันมาดูหลวงพ่อซึ่งตรงกับเวลา 21.05 น.ท่านก็ปราศจากลมหายใจเข้าออกเสียแล้วทุกคนต่างอยู่ในอาการเศร้าเมื่อข่าวของหลวงพ่ออี๋มรณภาพแพร่สะพัดออกไป ชาวบ้านต่างก็อยู่ในอาการเศร้าสร้อย และหลวงพ่ออี๋ท่านมรณะภาพสิริรวมอายุของท่านได้ 82 ปี แม้เวลาจะผ่านไปนานจนถึงในปัจจุบันชื่อเสียงของท่านก็ยังเป็นที่บอกกล่าวเล่าขานกันสืบต่อมา และบารมีของท่านและวัดสัตหีบ (วัดหลวงพ่ออี๋) ก็ยังคงอยู่ตราบนานเท่านาน
     ตำนานอีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวเนื่องกับหลวงพ่ออี๋ครับนั้นก็คือ ตำนานทหารผี(สุดยอดทหารของเมืองไทย)ในสงครามเวียตนาม ผบ.ทหารเวียตนามเหนือได้ส่งใบปลิวนี้เพื่อเป็นคำเตือนต่อทหารเวียตนามเหนือ เองและฝ่ายพันธมิตรคือเวียตกงและเวียตมิน "ถ้าหากปะทะกับกองกำลังไม่ปรากฏฝ่ายให้พวกทหารพึงระลึกไว้ว่า



1.ถ้าปะทะกับศัตรูที่ยิงต่อสู้กับเราแล้วหยุดยิงเป็นระยะๆ และมีปืนใหญ่ยิงสนับสนุนมานั่นคือทหารอเมริกัน
2.ถ้าปะทะกับศัตรูที่ยิงต่อสู้กับเราแล้วหมอบหรือคลานต่ำนั่นคือทหารเวียตนามใต้
3.ถ้าปะทะกับศัตรูที่ยิงต่อสู้กับเราแล้วอยู่กับที่ไม่เคลื่อนไหวนั่นคือทหารลาว
4.ถ้า ปะทะกับศัตรูที่ยิงต่อสู้กับเราแล้วไม่มีปืนใหญ่หรือนกยักษ์(เครื่อง บิน)มาสนับสนุน ไม่รู้จักหยุดยิง ไม่รู้จักหมอบ ไม่รู้จักคลาน ไม่รู้จักถอย เอาแต่วิ่งเข้าใส่ บางรายยิงไม่ตาย บางรายยิงไม่เข้า จงระวังไว้นั่นคือ........ทหารไทย

ณ ฐานที่มั่นทหารเสือพรานของไทยแห่งหนึ่งที่เวียตนามใต้(จำชื่อฐานไม่ได้) ทหารเวียตนามเหนือพยายามตีฐานนี้หลายสิบครั้งแต่ก็ไม่แตก จึงส่งกองพันกล้าตายที่ 21 ให้มาตีซึ่งเป็นกองพันเดียวของทหารเวียตนามเหนือที่ไม่เคยพ่ายแพ้ต่อกอง กำลังใดๆทั้ง อเมริกันและเวีตนามใต้ และกองพันนี้ขึ้นชื่อที่สุดด้านความโหดร้ายและการทารุณเชลยโดยวิธีลูเรต (ใส่กระสุนหนึ่งนัดในลูกโม่แล้วผลัดกันยิง) จนเป็นที่กล่าวขานกันทั่ว เช้าวันหนึ่งอากาศแจ่มใส ทหารเวียตานามเหนือกองพันกล้าตายที่ 21 จำนวน 600 นาย ได้เข้าตีฐานที่มั่นทหารไทยโดยทหารไทยมิได้ตั้งตัว ทหารไทยมีกำลังเพียง 150 นาย เห็นได้ชัดว่าถูกรุมแบบ 5 ต่อ 1 ปะทะกันนานกว่า 1 ชั่วโมงทหารเวียตนามเหนือแตกพ่ายไป ผลจากการสู้รบฝ่ายข้าศึกตาย 453 ศพและบาดเจ็บสาหัสจนไม่สามารถหนีได้ 16 นาย ฝ่ายเราตายเพียง 1 ศพและบาดเจ็บเล็กน้อย 5 นาย การปะทะครั้งนี้เป็นที่กล่าวขวัญไปทั่ว จน ผบ.ทหารเวียตนามใต้และทหารอเมริกันประกาศทางวิทยุสดุดีวีรกรรมของทหารไทย ครั้งนี้ 1 อาทิตย์ต่อมาผู้บังคับกองพันกล้าตายที่ 21 ของเวียตนามยิงตัวตายในบังเกอร์เพื่อหนีความอับอาย ส่วนทางด้าน นายทหารเสือพรานไทยได้รับเหรียญกล้าหาญ 35 คน เราคนรุ่นหลังขอน้อมคารวะทหารกล้าไทยที่ปกปัก รักษาแผ่นดินไทยให้เราอยู่ทุกวันนี้เรื่องราวเหล่าแด่ท่านผู้ชนะเหล่าชนเสือ พรานไทยนักรบชุดดำ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น