วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป # ๘ (วัดขุนอินทประมูล อ่างทอง-เมืองสองพระนอน 1 )

วันนี้จะพาไปไหว้พระนอนอีกวัดหนึ่งที่อ่างทองคือวัดขุนอินทประมูลครับ อ่างทองเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองสองพระนอน แต่วันนี้จะพาไปวัดขุนอินทประมูลก่อน ส่วนพระนอนอีกองค์ของเมืองอ่างทองคือพระนอนที่วัดป่าโมกวรวิหาร


     วัดขุนอินทประมูล อยู่ในเขตตำบลอินทประมูล วัดนี้เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย พิจารณาจากซากอิฐแนวเขตเดิมคะเนว่าเป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาวถึง ๕๐ เมตร (๒๕ วา) เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารแต่ถูกไฟไหม้ปรักหักพังไปเหลือแต่องค์พระตากแดดตากฝนมานานนับเป็นร้อยๆ ปี องค์พระพุทธรูปมีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับพระนอนจักรสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน องค์พระนอนมีพุทธลักษณะที่งดงาม พระพักตร์ยิ้มละไม สงบเยือกเย็นน่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ได้เคยเสด็จมาสักการะบูชา อาทิเช่น พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จมาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯในปีพ.ศ. ๒๔๒๑ และ ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเสด็จฯ มาถวายผ้าพระกฐินต้นในปี พ.ศ.๒๕๑๖ และเสด็จมานมัสการอีกครั้งในปีพ.ศ. ๒๕๑๘ พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศต่างนิยมมานมัสการเป็นเนืองนิจ


ประวัติ พระนอนวัดขุนอินทประมูลสร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏ หลักฐานแน่ชัด มีเพียงตำนานซึ่งก็มีหลายสำนวน สำนวนหนึ่งกล่าวถึงพระยาเลอไทย เสด็จพระราชดำเนินจากสุโขทัยทางชลมารค เพื่อมานมัสการพระฤษีสุกกะทันตะ ณ เขาสมอคอน กรุงละโว้ ทรงพักแรมอยู่ ณ เขาสมอคอน 5 เพลา จากนั้นได้เสด็จผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาล่องไปตามแม่น้ำน้อย ผ่านคลองบางพลับ ขณะประทับแรมที่บ้านโคกบางพลับ เกิดศุภนิมิตทอดพระเนตรเห็นลูกไฟดวงใหญ่ลอยขึ้นเหนือยอดไม้แล้วหายไปทางตะวันออก พระองค์ทรงปีติโสมนัสจึงสร้างพระนอนเป็นพุทธบูชา ขนาดยาว 20 ม. สูง 5 วา ใช้เวลา 5 เดือนจึงสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 1870 แล้วขนานนามว่า พระพุทธไสยาสน์เลอไทยนฤมิต ทรงมอบหมายให้นายบ้านเป็นผู้ดูแล และทรงแต่งตั้งทาสวัดห้าคน 
วันนี้จะพาไปไหว้พระนอนอีกวัดหนึ่งที่อ่างทองคือวัดขุนอินทประมูลครับ อ่างทองเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองสองพระนอน แต่วันนี้จะพาไปวัดขุนอินทประมูลก่อน ส่วนพระนอนอีกองค์ของเมืองอ่างทองคือพระนอนที่วัดป่าโมกวรวิหาร
     วัดขุนอินทประมูล อยู่ในเขตตำบลอินทประมูล วัดนี้เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย พิจารณาจากซากอิฐแนวเขตเดิมคะเนว่าเป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาวถึง ๕๐ เมตร (๒๕ วา) เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารแต่ถูกไฟไหม้ปรักหักพังไปเหลือแต่องค์พระตากแดดตากฝนมานานนับเป็นร้อยๆ ปี องค์พระพุทธรูปมีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับพระนอนจักรสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน องค์พระนอนมีพุทธลักษณะที่งดงาม พระพักตร์ยิ้มละไม สงบเยือกเย็นน่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ได้เคยเสด็จมาสักการะบูชา อาทิเช่น พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จมาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯในปีพ.ศ. ๒๔๒๑ และ ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเสด็จฯ มาถวายผ้าพระกฐินต้นในปี พ.ศ.๒๕๑๖ และเสด็จมานมัสการอีกครั้งในปีพ.ศ. ๒๕๑๘ พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศต่างนิยมมานมัสการเป็นเนืองนิจ



ประวัติ พระนอนวัดขุนอินทประมูลสร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏ หลักฐานแน่ชัด มีเพียงตำนานซึ่งก็มีหลายสำนวน สำนวนหนึ่งกล่าวถึงพระยาเลอไทย เสด็จพระราชดำเนินจากสุโขทัยทางชลมารค เพื่อมานมัสการพระฤษีสุกกะทันตะ ณ เขาสมอคอน กรุงละโว้ ทรงพักแรมอยู่ ณ เขาสมอคอน 5 เพลา จากนั้นได้เสด็จผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาล่องไปตามแม่น้ำน้อย ผ่านคลองบางพลับ ขณะประทับแรมที่บ้านโคกบางพลับ เกิดศุภนิมิตทอดพระเนตรเห็นลูกไฟดวงใหญ่ลอยขึ้นเหนือยอดไม้แล้วหายไปทางตะวันออก พระองค์ทรงปีติโสมนัสจึงสร้างพระนอนเป็นพุทธบูชา ขนาดยาว 20 ม. สูง 5 วา ใช้เวลา 5 เดือนจึงสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 1870 แล้วขนานนามว่า พระพุทธไสยาสน์เลอไทยนฤมิต ทรงมอบหมายให้นายบ้านเป็นผู้ดูแล และทรงแต่งตั้งทาสวัดห้าคน จากนั้นจึงเสด็จกลับสุโขทัยซึ่งสอดคล้องกับข้อสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์ศิลปะบางท่านว่า พระนอนอาจสร้างในสมัยสุโขทัยก็เป็นไปได้ เพราะมีพุทธลักษณะแบบสุโขทัย นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดขุนอินทประมูลยังมีโบราณสถานวิหารหลวงพ่อขาว ซึ่งเหลือเพียงฐาน ผนังบางส่วนและองค์พระพุทธรูป ด้านหน้าพระนอนมีศาลรูปปั้นขุนอินทประมูล ซึ่งตามประวัติเล่ากันว่า เป็นนายอากรผู้สร้างพระพุทธไสยาสน์ โดยยักยอกเอาเงินของหลวงมาสร้างเพื่อเป็นปูชนียสถาน ครั้นพระมหากษัตริย์ทรงทราบรับสั่งถามว่าเอาเงินที่ไหนมาสร้าง ขุนอินทประมูลไม่ยอมบอกความจริงเพราะกลัวส่วนกุศลจะตกไปถึงองค์พระมหากษัตริย์จึงถูกเฆี่ยนจนตาย วัดนี้จึงได้ชื่อว่า วัดขุนอินทประมูล


จากนั้นจึงเสด็จกลับสุโขทัยซึ่งสอดคล้องกับข้อสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์ศิลปะบางท่านว่า พระนอนอาจสร้างในสมัยสุโขทัยก็เป็นไปได้ เพราะมีพุทธลักษณะแบบสุโขทัย นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดขุนอินทประมูลยังมีโบราณสถานวิหารหลวงพ่อขาว ซึ่งเหลือเพียงฐาน ผนังบางส่วนและองค์พระพุทธรูป ด้านหน้าพระนอนมีศาลรูปปั้นขุนอินทประมูล ซึ่งตามประวัติเล่ากันว่า เป็นนายอากรผู้สร้างพระพุทธไสยาสน์ โดยยักยอกเอาเงินของหลวงมาสร้างเพื่อเป็นปูชนียสถาน ครั้นพระมหากษัตริย์ทรงทราบรับสั่งถามว่าเอาเงินที่ไหนมาสร้าง ขุนอินทประมูลไม่ยอมบอกความจริงเพราะกลัวส่วนกุศลจะตกไปถึงองค์พระมหากษัตริย์จึงถูกเฆี่ยนจนตาย วัดนี้จึงได้ชื่อว่า วัดขุนอินทประมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น