วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป # ๑๔ ( วัดสามวิหาร พระนครศรีอยุธยา )

เที่ยววัดกับขุนอภัยภักดี ทริป # ๑๔ ( วัดสามวิหาร พระนครศรีอยุธยา )
เนื่องด้วยช่วงนี้ยุ่งอยู่กับภาระกิจจัดกองผ้าป่าที่จะสร้างพระไปถวายที่สำนักสงฆ์หนองชงโค ที่โคราช ในวันอาทิตย์ที่ 27 มี.ค. นี้ เลยไม่ค่อยจะได้Update ทริปสักเทาไร วันนี้จะพาไปชมพระนอนวัดสามวิหาร พระนครศรีอยุธยา โดยวัดนี้เป็นวัดเก่าวัดหนึ่งในพระนครศรีอยุธยา  ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวรอ  อำเภอพระนครศรีอยุธยา  นอกกำแพงพระนครด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  คนละฝั่งลำน้ำลพบุรี วัดสามวิหารมีชื่อเรียกในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ว่า  วัดสามพิหาร  แต่จะสร้างขึ้นเมื่อใดนั้นไม่ได้กล่าวถึง  ที่มีชื่อปรากฏในพงศาวดารก็เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา  โดยเฉพาะในเหตุการณ์สงครามซึ่งฝ่ายข้าศึกมักจะเข้ามาใช้เป็นที่ตั้งค่ายบ้าง  ใช้เป็นที่บัญชาการทหารเข้าตีพระนครบ้าง   ทั้งนี้เพราะที่ตั้งวัดสามวิหารตั้งอยู่นอกเมืองแต่ไม่ไกลกำแพงเมือง  เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลายครั้ง ดังที่บันทึกไว้ในพงศาวดารตามลำดับ  ดังนี้ ดังที่มีบันทึกไว้ในเอกสารต่างๆ

ครั้งที่ ๑  ในเหตุการณ์สงครามกับพม่าคราวสมเด็จพระสุริโยทัยขาดคอช้าง เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. ๒๐๙๑ - ๒๑๑๑)  เสด็จขึ้นครองราชย์ได้ ๖ เดือน  ก็ได้ข่าวพม่ายกทัพเข้ามา  จึงโปรดให้แต่งกองทัพไปตั้งขัตตาทัพที่สุพรรณบุรี  แต่ทานกำลังข้าศึกไม่ไหว  ต้องถอยหนีกลับพระนคร  ทัพพม่ายกตามเข้ามาถึงชานพระนครทางทุ่งลุมพลี ด้านเหนือ  สมเด็จพระมหาจักรพรรดิยกพลออกไปตรวจดูกำลังข้าศึก  โดยมีพระอัครมเหสี คือ สมเด็จพระสุริโยทัย  และพระราชโอรส ๒ พระองค์ ตามเสด็จออกไปด้วย  กองทัพของทั้งสองฝายได้ปะทะกัน  สมเด็จพระสุริโยทัยถูกฟันสิ้นพระชนม์บนคอช้าง๑   หลังจากนั้นทัพพม่าก็ยกเข้ามาถึงพระนคร  พงศาวดารเล่าว่า  พระเจ้ากรุงหงสาวดีเสด็จยืนช้างบัญชาการรบอยู่ที่วัดสามวิหาร  ความว่า …”สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีเสด็จพระที่นั่งกระโจมทอง  ยกพลกองหลวง  ออกจากค่าย  ข้ามโพธิ์สามต้นมาตามทุ่งเพนียด  เสด็จยืนช้างอยู่  ณ วัดสามพิหาร ตรัสให้พระมหาอุปราชต้อนพลเข้าหักพระนคร…”๒   แต่กองทัพไทยระดมยิงปืนใหญ่จนต้องยกทัพกลับค่าย  และเมื่อตั้งค่ายอยู่นานขาดเสบียงอาหาร  จึงล่าทัพกลับไปทางเหนือ
ครั้งที่สอง  ในเหตุการณ์สงครามกับเขมร  สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา (พ.ศ. ๒๑๑๒ - ๒๑๓๓)  พระยาละแวกยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา  สมเด็จพระมหาธรรมราชา  ให้จัดพลทหารประจำการป้องกันพระนคร  พระยาละแวกยกทัพเข้ามาปล้นพระนคร  ดังที่กล่าวถึงในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า    ..พระยาละแวกยกพลเข้ามายืนช้างในวัดสามพิหาร และพลข้าศึกรายกันมาถึงวัดโรงฆ้องและวัดกุฎีทอง..สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็เสด็จไปยืนพระราชยาน  และให้พลทหารขึ้นรบพุ่ง  ข้าศึกก็พ่ายออกไปจึงตรัสให้ยิงปืนจ่ารงเอาช้างข้าศึกซึ่งยืนอยู่ในวัดสามพิหาร  นั้นต้องพระจำปาธิราช  ซึ่งเป็นกองหน้าตายกับคอช้าง..” [1]  ทัพพระยาละแวกยกเข้าปล้นถึงสามครั้งแต่ไม่สำเร็จจึงล่าทัพกลับ
ครั้งที่สาม  ในเหตุการณ์สงครามกับพม่า  พระเจ้าอลองพญายกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๓๐๒  ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ (พ.ศ. ๒๓๐๑ - ๒๓๑๐)  ฝ่ายไทยส่งทัพจีนไปรบแต่ถูกตีแตกพ่าย     “..พม่าก็ยกกองทัพตามเข้ามาตั้งค่าย  ณ เพนียดและวัดพระเจดีย์แดง  วัดสามพิหาร  ให้ทำบันไดไว้เป็นอันมากสำหรับจะพาดกำแพงปล้นเอาเมือง..”     จากนั้นไทยก็ไมได้ยกกองทัพออกไปรบอีก  เป็นแต่ให้รักษาพระนครให้มั่นไว้  ฝ่ายพม่าได้นำปืนใหญ่มาตั้งในวัดต่างๆ ที่อยู่ริมคูเมืองทิศตะวันตก  และทิศเหนือ  ยิงเข้าไปในพระนคร  กระสุนปืนใหญ่ถูกยอดปราสาทพระที่นั่งสุริยามรินทร์ทำลายลง  แต่พระเจ้าอลองพญาประชวร  เนื่องจากปืนใหญ่แตกต้องพระกาย  พม่าจึงต้องเลิกทัพกลับไป  และพระเจ้าอลองพญาสิ้นพระชนม์ระหว่างทาง

ครั้งที่สี่  คราวสงครามเสียกรุงครั้งที่ ๒  พ.ศ. ๒๓๑๐  ในช่วงปลายๆ สงคราม  เนเมียวแม่ทัพพม่าค่ายโพธิ์สามต้นยกทัพเข้ามาตีค่ายไทยที่ออกไปตั้งป้องกันพระนครอยู่ทางด้านเหนือแตกกลับเข้ากรุงหมดทุกค่าย  แล้วยกมาตั้งค่ายประชิดพระนครข้างด้านเหนือ  ที่วัดพระเจดีย์แดง    วัดสามพิหาร  วัดมณฑป  วัดกระโจม  วัดนางชี  วัดนางปลื้ม  วัดศรีโพธิ์  ให้ปลูกหอรบเอาปืนใหญ่น้อยขึ้นยิงเข้ามาในกรุงทุกๆ ค่าย  ต่อมาเมื่อเห็นว่าไทยอ่อนกำลังลงมากก็ให้นายทัพนายกองค่ายวัดสามพิหาร    วัดพระเจดีย์แดง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น